Saturday, November 24, 2012

หลักการและการดูแลแพะ

แพะ เป็นสัตว์ เลี้ยงที่น่าส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น เพราะแพะมี เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก เช่น
1. แพะเป็นผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กสามารถให้การดูแลได้
2. แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงแม้ฤดูแล้ง แพะก็สามารถหาวัชพืชที่โค-กระบือกิน กินเป็นอาหาร
3. แพะมีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถผสมพันธุ์แพะได้ตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน
4. แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกสั้น จึงทำให้ตั้งท้องได้ใหม่
5. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์
สำหรับแพะ
6. แพะเป็นสัตว์ที่สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ความทนต่อสภาพอากาศแล้ง และร้อนได้ดี
7. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับประชาชนของทุกศาสนาเพราะไม่มีศาสนาใดห้ามบริโภคเนื้อแพะ


1.การเลี้ยงดูพ่อพันธุ์แพะ

ภายหลังจากแยกพ่อพันธุ์แพะอายุ 3 เดือนจากแพะตัวเมียแล้ว พ่อพันธุ์ควรได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง และได้ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พ่อพันธุ์แพะเริ่มให้ผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน โดยไม่ควรให้พ่อพันธุ์ผสมพันธุ์แบบคุมฝูงกับแพะ ตัวเมียเกินกว่า 20 ตัว ก่อนอายุครบ 1ปีหลังจากนั้นก็ค่อยๆให้ผสมพันธุ์ได้มากขึ้นแต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ แพะคุมฝูงแพะตัวเมียเกินกว่า25 ตัว
แพะตัวผู้ควรได้รับการตัดแต่งกีบเสมอๆ และอาบน้ำ กำจัดเหา เป็นครั้งคราว
2.การเลี้ยงดูแม่พันธุ์แพะ
แพะพันธุ์พื้นเมืองมักเริ่มเป็นสัดตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยอาการเป็นสัดของแพะ ตัวเมียจะเป็นประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นจะเป็นสัดครั้งต่อไปห่างจากครั้งแรกประมาณ 21 วัน แพะตัวเมียเริ่มให้ได้รับการผสมพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือน การผสมพันธุ์แพะตัวเมียตั้งแต่อายุยังน้อยๆอาจทำให้แพะแคระแกร็นได้
หลังจากได้รับการผสมพันธุ์แล้วอาจจะปล่อยแพะตัวเมียเข้าฝูงโดยไม่ต้องให้การ ดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด นอกจากแพะตัวเมียนั้นจะผอมหรือป่วย ถ้าแพะตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วกลับมาเป็นสัดอีกภายหลังจากผสม พันธุ์ไปแล้ว 21 วัน ให้ทำการผสมพันธุ์ใหม่หากแพะตัวเมียยังกลับเป็นสัดใหม่อีก และพ่อพันธุ์แพะที่ใช่ผสมมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี ก็ควรจะคัดแพะตัวเมียที่ผสมไม่ติดนี้ทิ้งเสีย
โดยปกติแพะตัวเมียที่ผสมติดจะตั้งท้องนานประมาณ 150 วัน ลักษณะอาการใกล้คลอดจะเห็นได้ดังนี้
เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้นก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน
แม่แพะจะแสดงอาการหงุดหงิด ตื่นเต้น และร้องเสียงต่ำๆ
บริเวณสวาป ด้านขวาจะยุบเป็นหลุมก่อน จากนั้นจะเห็นรอยยุบเป็นหลุมชัดที่สะโพกทั้ง 2 ข้าง
อาจมีเมือกไหลออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อยก่อนคลอดหลายวันจากนั้นน้ำเมือกจะมีลักษณะ เปลี่ยนเป็นขุ่นขึ้น และสีเหลืองอ่อนๆ
อาจจะคุ้ยเขี่ยหญ้า หรือฟางรอบๆ ตัวเหมือนจะเตรียมตัวคลอด
แม่แพะจะหงุดหงิดมากขึ้นทุกที เดี๋ยวนอนเดี๋ยวลุกขึ้น แล้วนอนลงเบ่งเบาๆ
เมื่อแม่แพะแสดงอาการดังกล่าว ควรปล่อยแม่แพะให้อยู่เงียบๆ อย่าให้มันถูกรบกวน เตรียมผ้าเก่าๆ ด้ายผูกสายสะดือ ใบมีดโกน และทิงเจอร์ไอโอดีนไว้ เมื่อถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว ลูกแพะจะคลอดออกมาภายใน 1 ชั่วโมง หากแม่แพะเบ่งนานและยังไม่คลอด จะช่วยให้ลุกแพะในท้องคลอดง่ายขึ้น
ทันทีที่ลูกแพะคลอดออกมา ให้ใช้ผ้าที่เตรียมไว้เช็ดตัวให้แห้งพยายาม เช็ดเยื่อเมือกในจมูกออกให้หมดเพื่อให้ลูกแพะหายใจได้สะดวก จากนั้นผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วตัดสายสะดือและทาทิงเจอร์ไอโอดีน เมื่อตัดสายสะดือแล้วอุ้มลูกแพะไปนอนในที่ที่เตรียมไว้หากเนไปได้ควรนำลูก แพะไปตากแดดสักครู่เพื่อให้ตัวลูกแพะแห้งสนิท จะช่วยให้ลูกแพะกระชุ่มกระชวยขึ้น รกจะขับออกมาภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่า 6 ชั่วโมงแล้วรกยังไม่ถูกขับออก ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์ หลังจากคลอดให้เอาน้ำมาตั้งให้แม่แพะได้กินเพื่อทดแทนของเหลวที่ร่างกายสูญ เสียไป

3. การดูแลลูกแพะ
ควรให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะและปล่อยให้ลูกแพะได้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน ถ้าต้องการรีดนมแพะก็ให้แยกแม่แพะออก ระยะนี้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนมละลายน้ำในอัตราส่วนหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน การให้อาหารลูกแพะในระยะต่างๆ สามารถดูได้จากตารางในเรื่องการให้อาหาร ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เกษตรกรไทยโดยทั่วไป มักไม่ได้แยกลูกแพะออกจากแม่ตั้งแต่เล็ก ส่วนใหญ่จะปล่อยลูกแพะให้อยู่กับแม่แพะจนมันโต ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่แพะมักไม่สมบูรณ์และผสมพันธุ์ ได้ช้าเพราะแม่แพะไม่ค่อยเป็นสัด ดังนั้นทางที่ดีหากเกษตรกรยังให้ลูกแพะอยู่กับแม่แพะตั้งแต่เล็กๆ ก็ควรแยกลูกแพะออกจากแม่แพะเมื่อลูกแพะมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน ลูกแพะที่มีอายุ 3 เดือน เราสามารถทำการคัดเลือกไว้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์แพะตัวผู้ที่ไม่ต้องการผสม พันธุ์ก็ทำการตอนในระยะนี้ หากไม่ต้องการให้แพะมีเขาก็อาจกำจัดโดยจี้เขาด้วยเหล็กร้อนหรือสารเคมีก็ได้
ภายหลังหย่านม ควรทำการถ่ายพยาธิตัวกลม ตัวตืดและพยาธิใบไม้ในตับ ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและวัคซีนป้องกันโรคเฮโมเรยิกเซ พติกซีเมีย การถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แพะมีสุขภาพที่ดี และสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 8 เดือน
แม่แพะที่คลอดลูกแล้วประมาณ 3 เดือน เมื่อเป็นสัดก็สามารถเอาพ่อพันธุ์แพะมาทำการผสมพันธุ์ได้อีก หากแม่แพะใช้รีดนมผู้เลี้ยงก็รีดนมแม่แพะได้จนถึง 6-8 สัปดาห์ก่อนคลอดจึงหยุดทำการรีดนม

Tagged:

0 comments:

Post a Comment

แพะ.com © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by Guru