Saturday, November 24, 2012

ลักษณะและวิการเลี้ยงแพะ
โดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 แบบด้วยกัน ตามพื้นที่และลักษณะภูมิภาคและตามความสามารถของเจ้าของผู้เลี้ยงเอง

1. การเลี้ยงแบบผูกล่าม
การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบ บริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผูกล่ามแพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำ ด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในคอก

2.การเลี้ยงแบบปล่อย
การเลี้ยงแบบปล่อยนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหากินอาหารใน เวลากลางวัน
โดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลา หรือเป็นบางเวลาเท่านั้นลักษณะ การเลี้ยงแบบนี้ที่นิยมเลี้ยงกันมากในบ้านเราเพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไต้องตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหาอาหารกินอาจปล่อยในแปลงผักหลังการเก็บเกี่ยวหรือปล่อยให้กิน หญ้าในสวนยาง แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่พืชเกษตรกรเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อยแพะออกหากินอาหารกินไม่ควรปล่อยเวลาที่แดดร้อนจัดหรือฝนตก เพราะแพะอาจจะเจ็บป่วยได้ โดยปกติเกษตรกรมักปล่อยแพะหากินอาหาร ตอนสายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหากินอาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หากพื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

3.การเลี้ยงแบบขังคอก
การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอกรอบๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้อออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียร์หรือกินนีให้แพะกินบ้างนคอกต้องมีน้ำและ อาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแลแพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน

4. การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช
การเลี้ยงแบบนี้ ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกร จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลุกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการเพาะปลูกเพียงอย่าง เดียว
โรคบลูเซลโลซีสในแพะ
โรคบรูเซลโลซิส Brucellosis (Brucella melitensis)
ความสำคัญ
โรคบรูเซลโลซิสเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์ถึงคนได้ แต่แทบทั้งหมดจะไม่ติดต่อ ระหว่างคน (dead-end host) โรคนี้โดยมากแล้วจะเป็นกับผู้ที่มีอาชีพสัมผัส กับโรค ได้แก่ สัตวแพทย์ เกษตรกร คนงานโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้อง กับสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะติดโรคโดยการสัมผัสตรงหรือทางอ้อมผ่านทางผิว หนัง เยื่อเมือก การกินผลผลิตจากสัตว์ที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำนม ดิบ
คนจะสามารถติดโรคได้ จาก B. abortus, B. melitensis, B. suis แต่ B. melitensis และ B. suis จะ ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่วน B. abortus มักจะไม่ค่อยปรากฏ อาการ โรคนี้มีระยะฟักตัวในคน 8-20 วัน
อาการในคน มีแบบเฉียบพลัน ทำให้อ่อนแรง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและปวด ข้อ เหงื่อไหลท่วมในเวลากลางคืน แต่โรคจะมีการปรากฏอาการเฉพาะ ที่ ได้แก่ ข้ออักเสบที่สะโพก หัวเข่า ไหล่ อัณฑะอักเสบ โรคนี้จะกลายเป็น สภาพเรื้อรังได้นานมากกว่า 6 เดือน

อาการ
แบบเฉียบพลัน อาการในแพะ แกะ ได้แก่ อาการแท้ง หรือให้ลูกที่อ่อนแอ การแท้งจะเกิดในช่วงตั้งท้อง 2 เดือนสุดท้าย บางตัวมีรกค้าง ในตัวผู้มีการลงโรคที่อัณฑะ ท่อเก็บน้ำเชื้อ ต่อมอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดอาการอักเสบและไม่สมบูรณ์พันธุ์ พบอาการข้ออักเสบได้ทั้งในเพศผู้และเมีย
แบบเรื้อรัง สัตว์จะแท้งเพียงครั้งเดียว แต่เชื้อจะกลับเข้าในมดลูกและขับเชื้อออกมากับเนื้อเยื่อและของเหลวช่องคลอด สัตว์ไม่ตั้งท้องซึ่งรับเชื้อจำนวนน้อยจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่จำกัดตัว มีภูมิคุ้มกันโรค หรือเป็นพวกติดเชื้อแฝง (latent carriers) ในแพะจะเกิดการติดเชื้อตลอดไปโดยจะพบเชื้อที่เต้านมและต่อมน้ำเหลืองเต้านม (supramammary lymph nodes) และจะมีการขับเชื้อออกมาในน้ำนมอย่างถาวร หรือเป็นครั้งคราว แต่ในแกะโรคจะจำกัดตัว น้อยตัวที่จะขับเชื้อยาวนาน ส่วนอาการอัณฑะอักเสบจะเป็นแบบเรื้อรัง
พยาธิกำเนิดและการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
ในแง่พยาธิวิทยา B. melitensis ในแพะแกะจะไม่แตกต่างกับ
ในโค กระบือ แต่เชื้อ Brucella แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน ทำให้โรคที่เกิดขึ้นแตกต่างกันในด้านความรุนแรง Brucella เป็นเชื้อที่อยู่ในเซลของระบบน้ำเหลือง (faculatative intracellular parasites of the reticuloendothelial system) ความรุนแรงของเชื้อแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของเชื้อ ตำแหน่งที่รับเชื้อ ความไวของ host และระยะสืบพันธุ์ ดังนั้นในอุบัติการโรคจริงจะพบอาการได้ตั้งแต่แบบเฉียบพลันไปจนถึงทนโรคได้ อย่างสมบูรณ์
ระยะโรค ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายคือเยื่อเมือกของช่องปากคอหอย, ทางเดินหายใจส่วนบน และเยื่อบุตา ช่องทางอื่นได้แก่เยื่อบุของระบบสืบพันธุ์ เชื้อจะผ่านข้าช่องน้ำเหลืองไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้ที่สุด ถ้าเชื้อเอาชนะกลไกการป้องกันของร่างกายซึ่งใช้ macrophage, T lymphocyte และ เแอนติบอดี เชื้อจะกระจายในเลือด (bacteremia) ซึ่งจะตรวจพบภายใน 10-20 วัน และยาวนานไปถึง 1-2 เดือน ถ้าสัตว์ตั้งท้องเชื้อจะเข้าสู่มดลูก และจะพบเชื้อในต่อมน้ำเหลือง เต้านม และ ม้าม
1. ในระยะแรกของโรค จะพบอาการแท้ง เว้นแต่เป็นการติดเชื้อในระยะปลายของการตั้งท้อง แต่การลงโรคในอวัยวะเฉพาะ (localisation) ก็อาจพบได้ (orchitis, epididymitis, hygroma, arthritis, metritis, subclinical mastitis) ฯลฯ) บางตัวอาจพบการติดเชื้อที่จำกัดตัว (self-limiting infections) และกลายเป็นตัวเก็บโรคที่ไม่แสดงอาการ (asymptotic latent carriers) และเป็นตัวขับเชื้ออย่างฉกาจ
2. ในระยะที่สอง จะพบการขจัดเชื้อออกจากร่างกาย แต่ที่มักพบคือการติดเชื้อที่ยืนนานในเต้านม ต่อมน้ำเหลืองเต้านม และอวัยวะสืบพันธุ์ และการขับเชื้ออย่างถาวรหรือเป็นครั้งคราวในน้ำนมหรืออวัยวะสืบพันธุ์
สัตว์จะแท้งเพียงครั้งเดียวกลางการตั้งท้องช่วงที่สาม แตในการตั้งท้องครั้งต่อมา่เชื้อจะกลับเข้ามดลูกซ้ำอีกพร้อมทั้งสามารถขับ เชื้อออกได้ทางของเหลวและเนื้อเยื่อ การตั้งท้องจะครบระยะ อัตราเป็นโรคในฝูงอาจสูงถึง 40% ตัวเมียที่เกิดในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนและเกิดติดเชื้อในภายหลังจะแท้งน้อย ลง ดังนั้นจึงพบว่าในฝูงที่ติดเชื้อใหม่จะมีอัตราการแท้งสูง ในขณะที่หากเป็นพื้นที่มีโรคสะสมจะพบอัตราแท้งที่ต่ำลง
เต้านมเป็นอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญของ B. melitensis การติดเชื้อในแพะท้องว่างที่ให้นมจะทำให้เชื้อจับกลุ่มในเต้านมและขับเชื้อ B. melitensis ออกมาในน้ำนม แต่แทบจะสังเกตไม่พบอาการเต้านมอักเสบ
การติดเชื้อจะทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตามมา แต่ขนาดและช่วงเวลาจะผันแปรขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ความรุนแรงของสายพันธุ์เชื้อ, ปริมาณเชื้อที่เข้าไป, การตั้งท้อง, เพศ และสภาพภูมิต้านทานโรคของ host
humoral immunity การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะเกิดภายใน 2-4 สัปดาห์หลังติดเชื้อ แต่การตอบสนองอาจผันแปรอาจไม่มีเลยก็ได้ การที่เชื้อเข้าไปในมดลูกตั้งท้องคาดว่าจะทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดีจำนวน มากแต่อาจถูกหน่วงไว้จนกระทั่งแท้งหรือคลอดตามปกติ ส่วนการที่เชื้อเข้าไปในเต้านมจะทำให้เกิดการตอบสนองทางซีรั่มน้อยกว่า การเก็บเชื้อในต่อมน้ำเหลืองยิ่งยากที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางซีรั่ม
รูปแบบของการตอบสนองทางซีรั่มในรูปของการสร้าง immunoglobulin ในแพะแกะ ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางเหมือนในโคกระบือ แต่ข้อมูลที่มีอยู่พบว่ามีความใกล้เคียงกัน ดังเช่น พบ IgM ก่อน แล้วจึง IgG ที่เด่นชัดตามมาใน 1-2 สัปดาห์ และการตอบสนองจะเบาบางบางครั้งไม่พบเลยในสัตว์ที่ยังไม่เจริญพันธุ์
cell mediated immunity (CMI) การป้องกันโดยอาศัยเซลเกิดจาก macrophage และ T lymphocytes มีการกระตุ้นเซล lymphocyte, การยับยั้งเซล macrophage, delayed-type hypersensitivity, interferon induction การตอบสนองเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์เช่นเดียวกับ humoral immunity แต่จะผันแปรหรืออาจไม่พบเลย
วิธีติดเชื้อ
การขับเชื้อ เชื้อจะถูกขับออกจากร่างกายแพะแกะทางอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย สิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อได้แก่ รก, น้ำึคร่ำ ของเหลวจากช่องคลอดในช่วงแท้งลูก และช่วงคลอดปกติ ในแพะการขับเชื้อจะยาวนาน 2-3 เดทฃือน ในแกะจะขับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์จากช่วงแท้งลูก และช่วงคลอดปกติ การขับเชื้อยังพบได้จากน้ำนมและน้ำเชื้อ การเพาะแยกเชื้อจะพบได้ตามเนื้อเยื่อของร่างกาย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณศรีษะ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และวิการที่ข้อขา
วิธีติดเชื้อเป็นได้ทั้งแบบโดยตรง และทางอ้อม สัตว์ติดเชื้อโดยตรงจากละอองเชื้อหรือกินสิ่งปนเปื้อนเชื้อ การติดเชื้อโดยทางอ้อมได้แก่ การที่สัตว์ปล่อยแทะเล็มในแปลงที่ปนเปื้อนเชื้อ ในสัตว์เพศผู้ การที่เชื้อลงอวัยวะสืบพันธุ์ทำให้สามารถพบเชื้อในน้ำเชื้อ แต่พบว่า่การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการถ่ายเชื้อไป ยังตัวเมีย
สุนัขเป็นตัวพาโรคไปได้ การกระจายผ่านทางน้ำพบน้อยมากแต่อาจเป็นไปได้ในระยะทางใกล้ การติดเชื้อในเต้านมจะทำให้พบเชื้อในน้ำนมอย่างถาวรหรือเป็นครั้งคราวได้ จำนวนเชื้อในน้ำนมค่อนข้างน้อยแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อไปสู่ ลูกสัตว์และทำให้เกิดการติดเชื้อทางอ้อมโดยปนเปื้อนกับมือผู้รีดน้ำนม
การติดเชื้อสู่ลูก การติดเชื้อตั้งแต่ในท้องแม่เกิดขึ้น ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่การติดเชื้อสู่ลูกเกิดจากการกินน้ำนมแม่ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองของระบบย่อยอาหารลูกแพะแกะเกิดติดเชื้อแล้วจะทำให้ขับ เชื้อออกทางอุจจาระได้ แต่ลูกแพะแกะอาจมีกลไกทำให้โรคหายได้เองเช่นเดียวกับโคกระบือ และจะทำให้ลูกแพะแกะไวต่อโรคอีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ สำหรับ B melitensis สภาพแฝงเชื้อ (latent infection) จะทำให้การกำจัดโรคยากลำบาก เนื่องจากสภาพภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนอง (immunotolerance) จะทำให้ไม่สามารถตรวจทดสอบโรคได้ ซึ่งกลไกสภาพดังกล่าวยังไม่ทราบแน่ชัด
การอยู่รอดในสภาพแวดล้อม ความสามารถในการอยู่รอดของ Brucella นอกตัวสัตว์ค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียที่ไม่สร้างสปอร์พวก เดียวกัน สภาพที่เอื้ออำนวยในการอยู่รอดได้แก่ pH<4, ความชื้นสูง, อุณหภูมิต่ำ และไม่มีแสงแดดส่องโดยตรง เชื้อจะมีฤทธิ์อยู่ได้นานหลายเดือนในน้ำ, ลูกที่แท้ง, เนื้อเยื่อลูก, อุจจาระ และของเสีย, หญ้าแห้ง, โรงเรือน, เครื่องมือ และเสื้อผ้า Brucella ยังทนต่อสภาพแห้งหากมีอินทรียสารและจะมีชีวิตอยู่ได้ในฝุ่นและดิน การปนเปื้อนเครื่องมือจะสามารถทำปลอดเชื้อได้โดยการอบความดัน (121°C) การฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีจะช่วยทำลายเชื้อที่ปนเปื้อนพื้นที่ได้ โดย xylene (1 ml/litre) และ calcium cyanamide (20 kg/m3) มีประสิทธิภาพที่จะใช้กับของเสียเหลวจากโรงเรือน หลังจาก 2-4 สัปดาห์ การใช้ยาฆ่าเชื้อ sodium hypochlorite 2.5%, โซดาไฟ (caustic soda) 2-3%, น้ำปูนขาวเตรียมสด (freshly slaked lime suspension) 20%, สารละลาย formalin ( formaldehyde) 2% เพียงพอที่จะทำลายเชื้อBrucella บนพื้นผิวที่แปดเปื้อน
การอยู่รอดของเชื้อในผลิตภัณฑ์นมพบว่าในผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นต่ำ เชื้อจะไวต่อความร้อน เช่น ในน้ำนมที่ทำการพาสเจอไรส์ หรือในน้่ำำนมที่ต้มนาน 10 นาที
ในซากที่แช่แข็งเชื้อจะอยู่ได้นานหลายปี จำนวนเชื้อที่มีอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อมีจำนวนน้อยและถูกทำลายเมื่อ pH ในเนื้อลดลง การปนเปื้อนในโรงฆ่าสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการปฏิบัติที่เหมาะสม ทิ้งเต้านม, อวัยวะสืบพันธุ์, ต่อมน้ำเหลือง
ยาฆ่าเชื้อทั่วไปตามขนาดที่แนะนำสามารถฆ่าเชื้อBrucella ที่แขวนลอยในน้ำได้ (phenol 10 g/l, formaldehyde,xylene 1 ml/l) ยกเว้นแต่เมื่อมีการสะสมของอินทรียสารหรือมีอุณหภูมิต่ำจะทำให้ประสิทธิภาพ ลดลงมาก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้การฆ่าเชื้อบนพื้นผิวควรจะใช้ความร้อน ยาฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสมได้แก่ quaternary ammonium compound
ความไวต่อโรค
อายุ B. melitensisทำให้เกิดโรคในสัตว์โตเต็มวัย สัตว์อายุน้อยอาจติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรืออาจอ่อนแอบ้างและมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเพียงเล็กน้อย ความไวต่อโรคจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตั้งท้อง
ชนิดและพันธุ์ ในลาตินอเมริกา แพะเป็น host หลักของB. melitensis แม้แกะจะสัมผัสใกล้ชิดกับแหล่งโรคแต่อัตราป่วยจะไม่สูงเท่า ความสำคัญของแพะเปรียบเทียบกับแกะอาจมีความแตกต่างกันขึ้นกับแต่ละพื้นที่
การขับเชื้อจากช่องคลอดแพะยาวนานกว่าโคกว่าจะหมดไปอาจนานถึง 2-3 เดือน ดังนั้นในแพะ 2 ใน 3 ของการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันจะเกิดในช่วงการตั้งท้อง หลังจากนั้นก็จะเกิดการขับเชื้อในน้ำนมในช่วงให้น้ำนมที่ตามมา การติดเชื้อจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงมากกว่าที่พบในโค
ปัจจัยสนับสนุน การเลี้ยงและสภาพแวดล้อมมีผลต่อการกระจายโรค การเลี้ยงในโรงเรือนที่มืดจะทำให้เชื้อกระจายเพิ่มจำนวนได้ดีกว่า พื้นที่เปิดโล่งและสภาพแวดล้อมแห้ง การกระจายข้ามฝูงเกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ นำสัตว์ติดเชื้อเข้าฝูง การเลี้ยงไล่ต้อนในแหล่งเลี้ยงร่วมกันจะเอื้ออำนวยให้เกิดการติดเชื้อสู่กัน
B. melitensis ในสัตว์ชนิดอื่น
สุนัข สามารถติดเชื้อ แต่จะขจัดโรคได้อย่างรวดเร็ว แต่จะมีบทบาทในการพาเศษซากสัตว์ที่ปนเปื้อนกระจายออก
วัว ควาย ในพื้นที่มีโรคในแพะ แกะ พบว่าโค กระบือสามารถติดเชื้อได้แต่ยังไม่พบว่าจะสามารถเก็บเชื้อไว้ในฝูงได้ตลอดไป หรือไม่หากไม่มีแพะแกะั โคกระบือที่ป่วยเป็นดรคจะมีอาการแท้งเช่นเดียวกัน การขับเชื้อในน้ำนมจะยาวนานเป็นปีและจะทำให้ผู้เลี้ยงติดโรค หรือผู้ดื่มน้ำนมติดโรค การกำจัดโรคใช้การทดสอบและทำลาย
สุกร สุกรไวต่อ B. melitensis เช่นเดียวกัน แต่จะเกิดในพื้นที่เลี้ยงสุกรแบบปล่อยลานเท่านั้น
การวินิจฉัยโรค
1. ตรวจจับเชื้อโดยตรง ได้แก่การเพาะแยกเชื้อ
2. การตรวจทางซีรั่มวิทยา เป็นที่ยอมรับกันว่าวิธีการตรวจทดสอบที่ใช้สำหรับ B. abortus ในโคกระบือ สามารถนำมาใช้ในการตรวจ B. melitensis ได้ โดยทั่วไปแล้วจะใช้ rose bengal test ร่วมกับ complement fixation test
rose bengal test ในการทดสอบโรคในแพะแกะจะต้องเพิ่มปริมาณซีรั่มจาก 25µ l เป็น 75µ l
วัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคนี้ได้แก่ วัคซีน Brucella melitensis Rev.1 strain
หลักการและการดูแลแพะ

แพะ เป็นสัตว์ เลี้ยงที่น่าส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น เพราะแพะมี เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก เช่น
1. แพะเป็นผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กสามารถให้การดูแลได้
2. แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงแม้ฤดูแล้ง แพะก็สามารถหาวัชพืชที่โค-กระบือกิน กินเป็นอาหาร
3. แพะมีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถผสมพันธุ์แพะได้ตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน
4. แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกสั้น จึงทำให้ตั้งท้องได้ใหม่
5. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์
สำหรับแพะ
6. แพะเป็นสัตว์ที่สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ความทนต่อสภาพอากาศแล้ง และร้อนได้ดี
7. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับประชาชนของทุกศาสนาเพราะไม่มีศาสนาใดห้ามบริโภคเนื้อแพะ


1.การเลี้ยงดูพ่อพันธุ์แพะ

ภายหลังจากแยกพ่อพันธุ์แพะอายุ 3 เดือนจากแพะตัวเมียแล้ว พ่อพันธุ์ควรได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง และได้ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พ่อพันธุ์แพะเริ่มให้ผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน โดยไม่ควรให้พ่อพันธุ์ผสมพันธุ์แบบคุมฝูงกับแพะ ตัวเมียเกินกว่า 20 ตัว ก่อนอายุครบ 1ปีหลังจากนั้นก็ค่อยๆให้ผสมพันธุ์ได้มากขึ้นแต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ แพะคุมฝูงแพะตัวเมียเกินกว่า25 ตัว
แพะตัวผู้ควรได้รับการตัดแต่งกีบเสมอๆ และอาบน้ำ กำจัดเหา เป็นครั้งคราว
2.การเลี้ยงดูแม่พันธุ์แพะ
แพะพันธุ์พื้นเมืองมักเริ่มเป็นสัดตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยอาการเป็นสัดของแพะ ตัวเมียจะเป็นประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นจะเป็นสัดครั้งต่อไปห่างจากครั้งแรกประมาณ 21 วัน แพะตัวเมียเริ่มให้ได้รับการผสมพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือน การผสมพันธุ์แพะตัวเมียตั้งแต่อายุยังน้อยๆอาจทำให้แพะแคระแกร็นได้
หลังจากได้รับการผสมพันธุ์แล้วอาจจะปล่อยแพะตัวเมียเข้าฝูงโดยไม่ต้องให้การ ดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด นอกจากแพะตัวเมียนั้นจะผอมหรือป่วย ถ้าแพะตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วกลับมาเป็นสัดอีกภายหลังจากผสม พันธุ์ไปแล้ว 21 วัน ให้ทำการผสมพันธุ์ใหม่หากแพะตัวเมียยังกลับเป็นสัดใหม่อีก และพ่อพันธุ์แพะที่ใช่ผสมมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี ก็ควรจะคัดแพะตัวเมียที่ผสมไม่ติดนี้ทิ้งเสีย
โดยปกติแพะตัวเมียที่ผสมติดจะตั้งท้องนานประมาณ 150 วัน ลักษณะอาการใกล้คลอดจะเห็นได้ดังนี้
เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้นก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน
แม่แพะจะแสดงอาการหงุดหงิด ตื่นเต้น และร้องเสียงต่ำๆ
บริเวณสวาป ด้านขวาจะยุบเป็นหลุมก่อน จากนั้นจะเห็นรอยยุบเป็นหลุมชัดที่สะโพกทั้ง 2 ข้าง
อาจมีเมือกไหลออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อยก่อนคลอดหลายวันจากนั้นน้ำเมือกจะมีลักษณะ เปลี่ยนเป็นขุ่นขึ้น และสีเหลืองอ่อนๆ
อาจจะคุ้ยเขี่ยหญ้า หรือฟางรอบๆ ตัวเหมือนจะเตรียมตัวคลอด
แม่แพะจะหงุดหงิดมากขึ้นทุกที เดี๋ยวนอนเดี๋ยวลุกขึ้น แล้วนอนลงเบ่งเบาๆ
เมื่อแม่แพะแสดงอาการดังกล่าว ควรปล่อยแม่แพะให้อยู่เงียบๆ อย่าให้มันถูกรบกวน เตรียมผ้าเก่าๆ ด้ายผูกสายสะดือ ใบมีดโกน และทิงเจอร์ไอโอดีนไว้ เมื่อถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว ลูกแพะจะคลอดออกมาภายใน 1 ชั่วโมง หากแม่แพะเบ่งนานและยังไม่คลอด จะช่วยให้ลุกแพะในท้องคลอดง่ายขึ้น
ทันทีที่ลูกแพะคลอดออกมา ให้ใช้ผ้าที่เตรียมไว้เช็ดตัวให้แห้งพยายาม เช็ดเยื่อเมือกในจมูกออกให้หมดเพื่อให้ลูกแพะหายใจได้สะดวก จากนั้นผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วตัดสายสะดือและทาทิงเจอร์ไอโอดีน เมื่อตัดสายสะดือแล้วอุ้มลูกแพะไปนอนในที่ที่เตรียมไว้หากเนไปได้ควรนำลูก แพะไปตากแดดสักครู่เพื่อให้ตัวลูกแพะแห้งสนิท จะช่วยให้ลูกแพะกระชุ่มกระชวยขึ้น รกจะขับออกมาภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่า 6 ชั่วโมงแล้วรกยังไม่ถูกขับออก ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์ หลังจากคลอดให้เอาน้ำมาตั้งให้แม่แพะได้กินเพื่อทดแทนของเหลวที่ร่างกายสูญ เสียไป

3. การดูแลลูกแพะ
ควรให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะและปล่อยให้ลูกแพะได้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน ถ้าต้องการรีดนมแพะก็ให้แยกแม่แพะออก ระยะนี้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนมละลายน้ำในอัตราส่วนหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน การให้อาหารลูกแพะในระยะต่างๆ สามารถดูได้จากตารางในเรื่องการให้อาหาร ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เกษตรกรไทยโดยทั่วไป มักไม่ได้แยกลูกแพะออกจากแม่ตั้งแต่เล็ก ส่วนใหญ่จะปล่อยลูกแพะให้อยู่กับแม่แพะจนมันโต ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่แพะมักไม่สมบูรณ์และผสมพันธุ์ ได้ช้าเพราะแม่แพะไม่ค่อยเป็นสัด ดังนั้นทางที่ดีหากเกษตรกรยังให้ลูกแพะอยู่กับแม่แพะตั้งแต่เล็กๆ ก็ควรแยกลูกแพะออกจากแม่แพะเมื่อลูกแพะมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน ลูกแพะที่มีอายุ 3 เดือน เราสามารถทำการคัดเลือกไว้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์แพะตัวผู้ที่ไม่ต้องการผสม พันธุ์ก็ทำการตอนในระยะนี้ หากไม่ต้องการให้แพะมีเขาก็อาจกำจัดโดยจี้เขาด้วยเหล็กร้อนหรือสารเคมีก็ได้
ภายหลังหย่านม ควรทำการถ่ายพยาธิตัวกลม ตัวตืดและพยาธิใบไม้ในตับ ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและวัคซีนป้องกันโรคเฮโมเรยิกเซ พติกซีเมีย การถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แพะมีสุขภาพที่ดี และสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 8 เดือน
แม่แพะที่คลอดลูกแล้วประมาณ 3 เดือน เมื่อเป็นสัดก็สามารถเอาพ่อพันธุ์แพะมาทำการผสมพันธุ์ได้อีก หากแม่แพะใช้รีดนมผู้เลี้ยงก็รีดนมแม่แพะได้จนถึง 6-8 สัปดาห์ก่อนคลอดจึงหยุดทำการรีดนม

โรคติดเชื้อในแพะ
สาเหตุของโรคในแพะอาจเนื่องมาจากอาหาร การจัดการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกวิธี ทำ ให้สัตว์เกิดความเครียด อ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรคพอผู้เลี้ยงแพะต้องทราบ ถึงสาเหตุและสันนิฐานได้ซึ่งจะช่วยในการรักษาและป้องกันการระบาดของโรคได้
โดยให้สังเกตว่าแพะจะแสดงอาการหลายประการ เช่น การกินอาหารลดลง กว่าปกติ มีอาการไอ จาม ท้องเสีย ขนไม่เป็นเงา จมูกแห้ง ซึมหงอย เป็น ต้น โรคที่เกิดในแพะที่ควรรู้จักมีดังต่อไปนี้
1.โรคปากเปื่อย
เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการคือพบแผลนูนคล้ายหูด บริเวณริมฝีปาก รอบจมูก รอบตา บางครั้งลุกลามไปตามลำตัว ถ้าเป็นแพะโตอาการรุนแรงและแผลจะตกสะเก็ด แห้งไปเองภายในประมาณ 28 วัน
การรักษา
ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาแผล วันละ 1-2 ครั้ง
การป้องกัน
ในประเทศไทย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ถ้าพบแพะ เป็นโรคนี้ให้รีบแยกตัวป่วยออกทันที และรักษาจนกว่าจะหายจึงนำเข้าร่วมฝูงได้
2.โรคปากและเท้าเปื่อย
เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการที่แพะจะซึม น้ำลายไหลยืด ไม่กินอาหารบริเวณปากและแก้มบวมแดง มีเม็ดตุ่มใสเป็นแผลบริเวณกีบและเท้า แพะจะเดินขากระเผลก แสดงอาการเจ็บปวดและถ้าติดเชื้อโรคแทรกซ้อนอาจทำให้แพะตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน แพะที่ตั้งท้องอาจแท้งลูกได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มีทางรักษาโดยตรง การป้องกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และการกักกันแพะที่จะเข้ามาเลี้ยงใหม่เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเข้าฝูง ที่สำคัญมากคือการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เป็นหนองที่แผล เม็ดตุ่มพองแตกออกและจะหายช้ามากหรืออาจลุกลาม เกิดเลือดเป็นพิษถึงตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน
ผู้เลี้ยงอาจทราบว่าแพะเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยสังเกตดูจากอาการเจ็บปาก แผลเม็ดตุ่ม น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร ขากะเผลกไม่เดิน
การรักษา
ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) ทาที่แผลที่ปากและ กีบ หัวยม วันละครั้ง และฉีดยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทั้งนี้ควรขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
การป้องกัน
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท่าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง
2. กักแพะที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นเวลา 14 วัน จนแน่ใจว่าไม่เป็นโรคแล้วจึงนำเข้ารวมฝูง
3.โรคมงคล่อพิษเทียม
โรคนี้ติดต่อถึงคนได้เช่นกัน
พบว่าจนถึงปัจจุบันมีคนเป็นโรคนี้กันมากแล้ว ผู้เลี้ยงแพะจึงควรทราบจะได้ระมัดระวังไว้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการกินเชื้ออยู่ในดิน น้ำ อาหาร และหญ้าและติดต่อได้โดยการสัมผัสทางบาดแผล อาการที่พบในแพะคือ ซูบผอมลง อ่อนเพลีย ซึม เบื่ออาหาร ซีด ดีซ่าน มีไข้ มีน้ำมูก ข้อขาหน้าบวมชักและตาย เมื่อผ่าซากแพะจะพบฝีมากมายตามอวัยวะภายใน เช่น ปอด ม้าม ไต ตับ ใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และข้ออักเสบมีหนอง เชื้อนี้มักดื้อยา การรักษาไม่ค่อยไผล ดังนั้นควรทำลายและกำจัดซากโดยการเผา ไม่ควรนำซากแพะมาบริโภคโดยเด็ดขาด การป้องกันและควบคุมโรคต้องกำจัดซากแพะทันทีควรตรวจเลือดแพะทุกๆ 1 ปี ถ้าพบเป็นโรคให้กำจัดออกจากฝูงและทำลาย
การรักษา
ไม่แนะนำให้รักษาควรกำจัดออกจากฝูง เพราะโรคนี้รักษาหายยากและติดต่อถึงคนได้
การป้องกัน
1. กำจัดแพะป่วย และทำลายซากห้ามนำมาบริโภค
2. ตรวจสุขภาพแพะ โดยเจาะเลือดส่งห้องปฏิบัติการทุกๆ 2 ปี
3. ตรวจเลือดแพะทุกตัวที่นำเข้ามาใหม่ ถ้าพบให้ทำลายทิ้ง

4.โรคปอดปวม

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
เป็นได้กับแพะทุกอายุ พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะแพะที่อ่อนแอและไม่เคยถ่ายพยาธิ พบภาวะโรคนี้บ่อยๆในฤดูฝนเชื้อติดต่อได้รวดเร็ว โดยการกินเชื้อที่มีอยู่ในน้ำ อาหาร หายใจ เชื้อในอากาศ การอยู่รวมฝูงกับแพะป่วยด้วยโรคนี้ อาการของแพะที่ป่วย ได้แก่ มีไข้ จมูกแห้งมีน้ำมูก หอบ หายใจเสียงดัง ไอ ถ้าเป็นเรื้อรังแพะจะ แคระแกรน อ่อนแอ แพะป่วยจะตายถึง 60-90 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะแพะที่มีพยาธิมาก และลูกแพะหลังหย่านมใหม่จะตายมากที่สุด
การรักษา
โดยฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน อ๊อกซิเตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนนิคอล อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลาอย่างหนึ่งเป็นเวลา 3-5 วันต่อกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษา สัตวแพทย์ในการรักษาโรคนี้
ป้องกัน
ได้โดยจัดการโรงเรือนให้ สะอาด พื้นคอกแห้ง อย่าให้ฝนสาดหรือลมโกรกแพะ และควรยกพื้นโรงเรือน ประมาณ 1-1.5 เมตร แพะป่วยให้แยกขังไว้ในคอกสัตว์ป่วยต่างหาก จนกว่าจะหายดีแล้วจึงค่อยนำเข้ารวมฝูงเดิมใหม่ นอกจากนี้ควรถ่ายพยาธิ แพะ เป็นประจำตามโปรแกรมทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แพะแข็งแรงและควร ดูแลแพะหลังหย่านมเป็นพิเศษด้วยการเสริมอาหารที่มีคุณภาพดี
5.โรคแท้งติดต่อ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

แพะจะแท้งในช่วงลูกอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ไม่ค่อยเกิดโรคนี้บ่อย โรคนี้ติดต่อถึงคนได้ จึงต้องระวังในการดื่มนมแพะ อาการของแพะสังเกตยาก ต้องตรวจจากเลือดเท่านั้น ดังนั้นควรได้มีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ ทำลายแพะที่เป็นประจำ โดยการตรวจเลือดปีละ 1ครั้ง
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ
ทำลายแพะที่เป็นโรค และไม่คัดเลือกแพะที่พ่อ-แม่พันธุ์เคยมีประวัติเป็นโรคมาเลี้ยง
6.โรคไข้นม
โรคนี้เกิดในระยะที่แพะใกล้คลอด

หรือขณะที่กำลังอยู่ในระยะให้นม สาเหตุเกิดจากแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม อาการของแพะที่เป็นโรคไข้นมคือ ตื่นเต้นตกใจง่าย การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อเกร็ง นอนตะแคงและคอบิด ซีด หอบ อ่อนเพลีย ถ้าเป็นมากรักษาไม่ทันก็ถึงตายได้
การรักษา
ให้รีบติดต่อสัตวแพทย์ในท้องที่มารักษา
การป้องกัน
โ ดยการเพิ่มอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมในช่วงที่แพะคลอดและให้นม
7.โรคขาดแร่ธาตุ
มักเกิดกับแพะเพศเมีย
โดยที่แพะไม่ได้รับแร่ธาตุหรืออาหารข้นเสริมในภูมิประเทศที่มีแร่ธาตุในดิน ต่ำจะพบแพะป่วยด้วยโรคนี้มาก สาเหตุเกิดจากขาดแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น
อาการ
ที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มลงนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3
การรักษา
ทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้นอาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 วัน การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุแก่แพะเลียกิน ให้วิตามินและแร่ธาตุไว้ในโรงเรือนให้แพะได้เลียกินตลอดเวลา
8.โรคท้องอืด
เกิดจากกินหญ้าอ่อนมาเกินไป
หรืออาหารข้นที่มีโปรตีนสูงมากเกินไป ( เกิน 3% ของน้ำหนักตัว )หรือการที่แพะป่วยและนอนตะแคงด้านซ้าย
การแก้ไข
ผู้เลี้ยงแพะต้องเจาะท้องเอาแก๊สออก และกระตุ้นให้แพะลุกขึ้นเดิน
การดูแลสุขภาพแพะ และโรคในแพะ
โรคพยาธิในแพะ

พยาธิมีผลกระทบต่อการผลิตแพะทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งพบว่า พยาธิภายในเป็นตัวก่อปัญหากับการเลี้ยงมากกว่าพยาธิภายนอก ถ้าแพะมีพยาธิภาย ในจำนวนมากจะทำให้เกิดโรคเฉียบพลันมีความรุนแรงถึงตายได้ แต่ถ้าได้รับใน ปริมาณน้อยจะไม่ถึงตาย แต่ทำให้ผลผลิตลดลง เช่น เนื้อ นม นอกจากนี้ทำให้แพะ อ่อนแอ เป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลงและ เพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อยาถ่ายพยาธิด้วยมีแนวโน้นว่าพยาธิจะมีการ ดื้อยาขึ้น การใช้ยาจึงต้องไม่ใช้ยาชนิดเดียวกันทั้งปี พยาธิภายในแพะมีหลาย ชนิดด้วยกัน เกิดกับแพะทุกภาคที่เลี้ยงแพะ โดยเฉพาะในเขต เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวแบน เป็นต้น ดังที่กล่าว ในรายละเอียดให้เกษตรกรรู้จักดังต่อไปนี้

วงจรชีวิตพยาธิตัวกลมในกระเพาะแท้ของแพะ
พยาธิเส้นลวด
อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนอโบมาซุ่มของแพะ เป็นพยาธิที่ทำอันตรายต่อสัตว์มากที่สุด ตัวผู้ยาว 10- 20 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว18 – 30 มิลลิเมตร ตัวผู้มีสีแดง ส่วนตัวเมียมีสีแดงสลับขาว มีวงจรชีวิตคือ เมื่อพยาธิตัวแก่ไข่อกมาและแพะถ่ายอุจจาระออกมาไข่จะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน เมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมานอกไข่ และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดโรคแล้วแพะมากินเข้าไปจะเข้าไปอาศัยอยู่ในกระ เพาะอโบมาซุ่ม ดังกล่าว และภายใน 19วัน ตัวอ่อนก็จะเจริญเป็นตัวแก่และเริ่มออกไข่ อันตรายที่เกิดกับแพะก็คือพยาธิชนิดนี้จะดูดเลือดทั้งเม็ดเลือดและโปรตีนใน เลือด ทำให้แพะเกิดโลหิตจางและถ้ามีอาการรุนแรง แพะจะมีอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และแพะจะ ไม่เจริญเติบโต น้ำหนักลด ท้องร่วง หรือท้องผูก ร่างกายอ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ำและตายได้ อาการในลูกสัตว์จะเป็นแบบเฉียบพลัน เพราะการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว โดยไม่แสดงอาการโลหิตจางให้เห็น
นอกจากนี้ก็มีพยาธิเส้นดายที่อาศัยในลำไส้เล็ก มันจะแย่งอาหารทำให้ลำไส้อักเสบ แต่ความรุนแรงของพยาธินี้ไม่มากนัก และพยาธิเม็ดตุ่ม พบในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะถ่ายเป็นมูกเหลว การเจริญเติบโตลดลง ขนหยาบกระด้าง ท้องร่วง ผอมแห้งตาย บางครั้งอุจจาระมีเลือดปน
วงจรชีวิตพยาธิตัวตืดของแพะ

พยาธิตัวตืด
พบในลำไส้เล็กของแพะ มีความยาวถึง 600 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร วงจรชีวิตตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ จะเข้าไปอาศัยเจริญเติบโตในไร เมื่อแพะกินตัวไรที่มีพยาธิเข้าไป พยาธิจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยในแพะภายใน 6-8 สัปดาห์ ลูกสัตว์ที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน จะติดโรคพยาธิได้ง่ายและมีอาการรุนแรงมากกว่าแพะใหญ่ ถ้าติดโรคพยาธินี้น้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่ถ้าติดพยาธิมากอาจตายได้
วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับของแพะ

พยาธิใบไม้ตับ
พบในตับและท่อน้ำดีของแพะ ขนาดตัวยาว 25 – 75 มิลลิเมตร กว้าง 12 มิลลิเมตร มีวงจรชีวิตคือตัวอ่อนที่ฟักออกมา จากไข่พยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตในหอยน้ำจืด ใช้เวลาเจริญเติบโตในหอย 4 – 7 สัปดาห์ กลายเป็นตัวอ่อนว่ายออกมาจากหอยมาเกาะวัชพืชน้ำ และกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดโรค รอให้แพะมากิน ความรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิเดินทางไปที่ตับ จะเกิดโรค 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดรุนแรง เนื้อตับจะถูกทำลายอย่างมาก มีเลือดตก ในช่องท้อง ซึ่งมักพบในแกะ แพะที่ป่วยจะไม่อยากเคลื่อนไหว หายใจลำบาก แสดงอาการเจ็บปวดบริเวณท้องเมื่อถูกสัมผัส และพยาธินี้ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต เช่น เนื้อ และ ปริมาณนม เป็นต้น

เชื้อโรคบิด
ระบาดทั่วไปในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะแพะที่เลี้ยงรวมกัน ภายในคอก หรือแปลงหญ้าขนาดเล็ก มักไม่ค่อยพบในแพะที่เลี้ยงปล่อยเชื้อฟักอาศัยในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของ แพะ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะแสดงอาการเบื่ออาหาร สุขภาพไม่สมบูรณ์ ท้องว่าง อุจจาระมีกลิ่นเหม็น แพะจะมีเพลีย และถ้าไม่รักษาจะตายได้ อัตราการรอดตายจากโรค ค่อนข้างสูง การป้องกันควรแยกแพะที่เป็นโรคออกจากฝูง ทำความสะอาด ภาชนะใส่อาหารและรั้ว และพื้นคอกให้สะอาด
การตรวจวินิจฉัยโรค โดยสังเกตดูอาการว่า แพะจะเบื่ออาหาร ซูบผอม ซึม ขนยุ่ง ท้องเสีย บวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และจากการตรวจอุจจาระพบไข่หรือ ตัวอ่อนพยาธิซึ่งเกษตรกรควรติดต่อเจ้าหน้าที่ กรมปศุสัตว์ ตรวจเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ข้อแนะนำการป้องกันและควบคุมพยาธิภายในของแพะ
1. ถ่ายพยาธิเป็นประจำตามโปรแกรม โดยถ่ายทุก 4-6 สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่ใช้ประกอบด้วย
- ยาถ่ายพยาธิตัวกลม เช่น อัลเบนดาโซล , ไทอาเบ็นดาโซล, ไพแรนเทล, เลวามิซอล เป็นต้น
- ยาถ่ายพยาธิตัวตืด เช่น นิโคลซาไมด์ , เมเบนดาโซล เป็นต้น
- ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ราฟอกซาไนด์ , ไนโตรไซนิล เป็นต้น
- ยากำจัดเชื้อบิด เช่น โทลทราซูริล , ซัลฟาควินอกซาลีน ,เป็นต้น หรือถ้าพบมีปัญหา พยาธิภายในและเชื้อบิดร่วมกัน อาจใช้ยาทั้งสามชนิด และควรถ่ายทุก
4-6 สัปดาห์
- สำหรับพยาธิตัวกลม ควรเริ่มถ่ายพยาธิครั้งแรกเมื่ออายุ 8 สัปดาห์
2. ทำความสะอาดโรงเรือนแพะอย่างสม่ำเสมอ พื้นโรงเรือนแพะต้องเป็นแบบเว้นช่อง เพื่ออุจจาระตกลงไปข้างล่าง และต้องล้อมรอบ ใต้ถุนไว้ไม่ให้แพะเข้าไปได้ มิฉะนั้นจะติดโรคพยาธิจากอุจจาระได้
3. อุจจาระและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ให้ฝังหรือเผาทำลายให้หมด
4. ใช้ระบบแปลงหญ้าหมุนเวียนโดยการแบ่งแปลงหญ้าออกเป็นแปลงย่อยแต่ละแปลงล้อมรั้วกั้นไว้ ปล่อยแพะเข้าแทะเล็มหญ้านานแปลงละ 2 สัปดาห์
หลังจากนั้น ไปเลี้ยงแปลงอื่นต่อโดยจะต้องจัดการแปลงที่แพะเล็มแล้ว ด้วยการตัดหญ้าให้สั้นลงมากที่สุด หรือให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินเพื่อให้ไข่และตัวอ่อน
ของพยาธิตาย และหญ้าเจริญงอกงามเร็ว สำหรับเลี้ยงแพะที่จะเข้ามาแทะเล็มใหม่ หมุนเวียนกันไปหรือวิธีจำกัดพื้นที่แทะเล็ม โดยการผูกล่ามแพะไม่ซ้ำที่เดิม
5. ทำลายตัวนำกึ่งกลางของพยาธิ เช่น ไร และหอยน้ำจืด
6. ไม่ควรให้แพะลงแปลงหญ้าชื้นๆ แฉะๆ เพระจะติดพยาธิได้ง่ายจากตัวอ่อนพยาธิที่อาศัยอยู่นานในแปลงหญ้าที่ชื้นนั้น
อาหารและการให้อาหารแพะ

แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องคล้ายโค แพะมีกระเพาะหมัก ซึ่งอาศัยจุลินทรีย์ที่ อยู่ภายในย่อยอาหารและสังเคราะห์ไวตามิน ดังนั้นการให้อาหารข้นเสริม ก็ควร ระมัดระวังอย่าให้อาหารที่มีสารต้านหรือทำลายจุลินทรีย์
โดยเฉพาะอาหารสุกรมักมีสารดังกล่าวอยู่ ในปัจจุบันการผสมอาหารข้น สำหรับแพะ-แกะจำหน่าย ยังไม่แพร่หลายเกษตรกรอาจใช้อาหารโคนมผสมสำเร็จที่มี ขายอยู่ทั่วไปเลี้ยงแพะแทน อาหารข้นสำหรับแพะได้ หรือหากต้องการผสมอาหารข้น เลี้ยงแพะเอง ก็สามารถทำได้ตามสูตรอาหารที่ให้ไว้ท้ายตารางการให้อาหารที่จะ กล่าวต่อไป
ปกติแพะมีความต้องการอาหารหยาบ เช่น หญ้าสดต่างๆ ในปริมาณวันละประมาณร้อย ละ 10 ของน้ำหนักตัวแพะ และต้องการอาหารข้นประมาณวันละ 0.5-1.0 กิโลกรัม
นอกจากนั้นแพะยังต้องการน้ำและแร่ธาตุ เสริมเป็นประจำอีก ด้วย แพะต้องการน้ำกินวันละประมาณ 5-9 ลิตร ความต้องการน้ำมากน้อยขึ้นอยู่ กับสภาพตัวแพะและภูมิอากาศ เกษตรกรที่เลี้ยงแพะแบบพื้นบ้าน มักไม่ค่อยคำนึง ถึงเรื่องการจัดหาน้ำให้แพะกิน จึงทำให้มีปัญหาแพะเจ็บป่วยอยู่เสมอ สำหรับ แร่ธาตุที่ให้แพะกินผู้เลี้ยงจะใช้แร่ธาตุก้อนสำเร็จที่มีขายอยู่ให้แพะกิน ก็ได้ แต่ควรคำนึงด้วยว่าแร่ธาตุก้อนนั้นไม่ควรแข็งเกินไป ทั้งนี้เพราะลิ้น ของแพะสั้นกว่าลิ้นของโค การเลียแร่ธาตุ แต่ละครั้งจึงได้ปริมาณที่น้อย หาก จะทำการผสมแร่ธาตุสำหรับเลี้ยงแพะเองก็สามารถทำได้ตามสูตรที่จะให้ต่อไป นี้ แต่การผสมแร่ธาตุเองมักมีปัญหาที่แร่ธาตุไม่เป็นก้อน จึงทำให้สิ้น เปลืองเพราะหกทิ้งมาก



ตารางแสดงการให้อาหารแพะช่วงอายุต่างๆ



ตัวอย่างสูตรอาหารแพะที่มีโปรตีนต่างกัน
โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยงแพะ

แพะก็เหมือนสัตว์เลี้ยงอื่นๆ คือจะต้องมีสถานที่สำหรับแพะได้พักอาศัยหลบ แดด หลบฝน หรือเป็นที่สำหรับนอนในเวลากลางคืน การสร้างโรงเรือนที่ใช้เลี้ยง แพะ
ควรยึดหลักต่อไปนี้

1.พื้นที่ตั้งของคอก คอกแพะควรอยู่ในที่เนินน้ำไม่ท่วมขัง แต่ถ้าหาก พื้นที่ที่ทำการเลี้ยงแพะมีน้ำท่วมขังเวลาฝนตก ก็ควรสร้างโรงเรือนแพะให้สูง จากพื้นดินตามความเหมาะสม แต่ทางเดินสำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความสูงลาดสูงก ว่า 45 องศา เพราะหากสูงมากแพะจะไม่ค่อยขึ้นลง พื้นคอกที่ยกระดับจากพื้นดิน ควรให้เป็นร่อง โดยใช้ไม้หนาขนาด 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่อง ระหว่างไม้แต่ละอันห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้พื้น คอนกรีต โดยปูพื้นคอกแพะด้วยสแลตที่ปูพื้นคอกสุกรก็ได้ พื้นที่เป็นร่องนี้ จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ
2.ผนังคอก ผนังคอกแพะควรสร้างให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ ดี ผนังคอกควรความสูงไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ แพะ กระโดดหรือปีนข้ามออกไปได้
3.หลังคาโรงเรือน แบบของหลังคาโรงเรือนเลี้ยงแพะมีหลาย แบบ เช่น เพิงหมาแหงน หรือ แบบหน้าจั่ว เกษตรกรที่จะสร้างควรเลือกแบบที่คิด ว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และทุนทรัพย์ หลังคาโดยปกติมักจะสร้างให้สูงจาก พื้นคอกประมาณ 2 เมตร ไม่ควรสร้างโรงเรือนให้หลังคาต่ำเกินไป เพราะอาจจะทำ ให้ร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี สำหรับวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้จาก หรือ แฝก หรือสังกะสีก็ได้
4.ความต้องการพื้นที่ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัย ในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือน ประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นคอกๆ แต่ละคอกขังแพะรวมฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะ ให้ใกล้เคียงกันขัง รวมฝูงกัน แต่ถ้าหากเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูง ใหญ่ในโรงเรือนเดียวกัน โดยแบ่งเป็นคอกๆก็ได้
5.รั้วคอกแพะ เกษตรกรบางรายเลี้ยงแพะไว้ในโรงเรือนและมีบริเวณ สำหรับให้แพะเดินรอบโรงเรือน บริเวณเหล่านี้จะทำรั้วล้อมรอบป้องกันไม่ให้ แพะออกไปภายนอกได้ รั้วที่ล้อมรอบโรงเรือนแพะไม่ควรใช้ลวดหนามเป็น วัสดุ เพราะแพะเป็นสัตว์ซุกซน อาจได้รับอันตรายจากลวดหนามได้ รั้วควรจะ สร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ทุกระยะ 3-4 เมตร จะมีเสาปักเพื่อยึดให้รั้ว แข็งแรง หากจะสร้างรั้วให้ประหยัดอาจใช่กระถินปลูกเป็นแนวรั้วปนกับใช้ไม้ ไผ่ก็จะทำให้รั้วไม้ไผ่คงทนและใช้งานได้นาน โดยระยะแรกสร้างรั้วไม้ไผ่แล้ว ปลูกกระถินเป็นแนวข้างรั้วไผ่ เมื่อกระถิ่นโตขึ้นก็จะเป็นรั้วทดแทนต่อไป



โรงเรือนเลี้ยงแพะ ยกระดับจากพื้นดิน


ทางขึ้นลงของโรงเรือนยกระดับ
ไม่ควรลาดเอียงเกินกว่า 45 องศา และทางขึ้นลงควรมีไม้ตอกเสริมขวางเป็นขั้นๆ



พื้นโรงเรือนใช้ไม้ทำพื้นเว้นระยะเป็นร่อง
เพื่อให้มูลแพะตกไปข้างล่าง ผนังใช้ไม้ตอกกั้นให้สูงประมาณ 1.5 เมตร



ใต้โรงเรือน
ควรมีการทำความสะอาดมูลแพะใต้โรงเรือน
กวาดโกยมูลแพะไปทิ้งอยู่เสมอ
พันธุ์แพะ

แพะพันธุ์ต่างๆที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยทั้งพันธุ์พื้นเมองและพันธุ์ต่างประเทศ



1.แพะพื้นเมือง
ในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ด้วยกัน แพะทางแถบตะวันตก เช่น ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแพะท่าจากประเทศอินเดีย หรือปากีสถานมีรูปร่างใหญ่กว่าแพะทางใต้ ส่วนแพะทางใต้ของประเทศไทย มีขนาดเล็กเข้าใจกันว่ามีสายพันธุ์เดียวกับแพะพื้นเมืองของมาเลเซีย คือพันธุ์แกมบิงกัตจัง แพะพื้นเมืองทางใต้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 20-25 กิโลกรัม ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมต่ำ



2.แพะพันธุ์ต่างประเทศ
เนื่องจากแพะพื้นเมืองของประเทศไทย มีขนาดเล็ก ให้ผลผลิตต่ำ กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยให้มีคุณภาพสูง ขึ้น ให้แพะเป็นสัตว์ที่ให้ทั้งผลผลิตทั้งเนื้อและนม ดังนั้น จึงได้นำแพะพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปผสม พันธุ์กับแพะพื้นเมือง เพื่อให้คุณภาพของแพะดีขึ้น สำหรับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่กรมปศุสัตว์นำเข้ามาขยายพันธุ์ ได้แก่



2.1 แพะพันธุ์ซาเนน
เป็นแพะนมที่มีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตนมสูงกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ แพะพันธุ์นี้มีขนสั้น ดั้งจมูกและใบหน้ามีลักษณะตรง ใบหูเล็กและตั้งชี้ไปข้างหน้า ปกติจะไม่มีเขาทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แต่เนื่องจากมีแพะกระเทยในแพะพันธุ์นี้มาก จึงควรคัดเฉพาะแพะที่มีเขาไว้เป็นพ่อพันธุ์ เพราะมีรายงานว่าลักษณะกระเทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมอยู่กับลักษณะของ การไม่มีเขา แพะพันธุ์นี้มีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อนๆน้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 60 กิโลกรัม สูงประมาณ 70-90 เซนติเมตร ให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน มีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลี้ยงแพะพันธุ์นี้อยู่มาก เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย แต่ก็มีปัญหาเพราะว่าแพะพันธุ์นี้ปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศในแถบนี้ไม่ค่อยดี นัก แต่ถ้าหากเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ไว้ในลักษณะขังคอกตลอดเวลา ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องเจ็บป่วยลดลงให้ผลผลิตดี



2.2 แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน
กรมปศุสัตว์นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แพะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตัว มีน้ำหนักแรกเกิด 2-5 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม ( 3 เดือน ) 15 กิโลกรัม ดั้งจมูกมีลักษณะโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง ปกติแพะพันธุ์นี้จะไม่มีเขา แต่ถ้าหากมีเขาเขาจะสั้นและเอนแนบติดกับหนังหัว ขนสั้นละเอียดเป็นมัน มีขายาวซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงกว่า ระดับพื้นมากและทำให้ง่ายต่อการรีดนม และยังช่วยให้เต้านมไม่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากหนามวัชพืชเกี่ยว แพะพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล น้ำตาลแดง และมีจุดหรือด่างขนาดต่างๆได้ผลผลิตน้ำมันประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วัน



2.3 แพะพันธุ์เบอร์
กรมปศุสัตว์นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะเด่น คือมีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 65 กิโลกรัม
การประมาณอายุแพะจากการดูฟัน

การ ที่จะให้การเลี้ยงแพะประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง ก็คือพันธุ์ แพะที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ เพราะพ่อ – แม่พันธุ์ ที่ดีหากเลี้ยงอย่างถูก วิธี จะให้ผลผลิตที่ดีด้วย
การเริ่มต้นในการเลี้ยงแพะ ควรเริ่มจากการเลี้ยงแพะเมืองหรือแพะ ลูกผสมระหว่างแพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์ต่าง ประเทศที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว เพราะนอกจากจะเลี้ยงดูง่ายแล้วยังลง ทุนต่ำอีกด้วย เมื่อมีความรู้และประสบการณ์แล้วก็เริ่มเลี้ยงแพะพันธุ์ แท้ ซึ่งอาจจะใช้แต่พ่อพันธุ์แพะที่ดี นำมาผสมพันธุ์กับแม่แพะหรือปรับปรุง พันธุ์แพะในฝูงให้ดีขึ้น
การเลือกพ่อ – แม่พันธุ์แพะ ที่จะทำการเลี้ยง นั้น พ่อพันธุ์ ควร คัดเลือกแพะ ที่มีสายเลือดแพะพันธุ์แท้ รูปร่างสูงใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ที่สุดในฝูงมีความแข็งแรง มีความสมบูรณ์พันธุ์โดยควรคัดพ่อพันธุ์แพะที่เกิด จากแม่แพะที่ให้ลุกแฝดสูง และที่สำคัญคือพ่อพันธุ์แพะควรมีความกระตือรือร้น ที่จะทำการผสมพันธุ์กับแม่แพะที่เป็นสัด
แม่พันธุ์แพะที่จะเลือกควรเป็นแม่พันธุ์ที่มีรูปร่างลักษณะดี ลำ ตัวยาวเต้านมมีขนาดใหญ่ สมส่วน นิ่ม และหัวนมยาวสม่ำเสมอกัน ปริมาณน้ำนม มาก สามารถผสมติง่ายและให้ลูกแฝด
การประมาณอายุของแพะสามารถดูได้จากฟันของแพะ แพะมีฟันล่าง 8 ซี่ ฟันแท้ของ แพะจะงอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนมเป็นคู่ ตั้งแต่อายุ 1 ปี ถึง 4 ปี และหลังจากแพะ อายุได้ 4 ปี แล้วฟันแท้จะค่อยๆหลุดไปซึ่งจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อดูจากภาพ ประกอบ


อายุประมาณ 13 – 15 เดือน
ฟันแท้ซี่กลาง 2 ซี่ งอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนม


อายุประมาณ 18 – 21 เดือน
ฟันแท้อีก 2 ซี่ งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม รวมเป็นฟันแท้ 4 ซี่


อายุประมาณ 22 – 26 เดือน ฟันแท้อีก 2 ซี่งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม
รวมเป็นฟันแท้ 6 ซี่ จึงเหลือฟันน้ำนม 2 ซี่อยู่ด้านข้าง ข้างละ 1 ซี่


อายุประมาณ 27 – 32 เดือน
แพะจะมีฟันแท้ทั้ง 8 ซี่



การเลี้ยงแพะ

แพะ เป็นสัตว์เลี้ยงที่น่าส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเช่นเดียวกับสัตว์ชนิด อื่น เพราะแพะมีเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก เช่น
1. แพะเป็นผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กสามารถให้การดูแลได้
2. แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงแม้ฤดูแล้ง แพะก็สามารถหาวัชพืชที่โค-กระบือกิน กินเป็นอาหาร
3. แพะมีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถผสมพันธุ์แพะได้ตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน
4. แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกสั้น จึงทำให้ตั้งท้องได้ใหม่
5. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์
สำหรับแพะ
6. แพะเป็นสัตว์ที่สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ความทนต่อสภาพอากาศแล้ง และร้อนได้ดี
7. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับประชาชนของทุกศาสนาเพราะไม่มีศาสนาใดห้ามบริโภคเนื้อแพะ



การปฏิบัติและการเลี้ยงดูแพะ

การปฏิบัติเลี้ยงดูแพะตัวผู้และตัวเมียก็คล้ายกันแต่ควรแยกแพะตัวผู้และตัว เมีย อย่าให้เลี้ยงปนกันตั้งแต่อายุได้ 3 เดือน การใช้พ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ผสมพันธุ์กันควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 8 เดือน
1.การเลี้ยงดูพ่อพันธุ์แพะ
ภายหลังจากแยกพ่อพันธุ์แพะอายุ 3 เดือนจากแพะตัวเมียแล้ว พ่อพันธุ์ควรได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง และได้ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พ่อพันธุ์แพะเริ่มให้ผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน โดยไม่ควรให้พ่อพันธุ์ผสมพันธุ์แบบคุมฝูงกับแพะ ตัวเมียเกินกว่า 20 ตัว ก่อนอายุครบ 1ปีหลังจากนั้นก็ค่อยๆให้ผสมพันธุ์ได้มากขึ้นแต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ แพะคุมฝูงแพะตัวเมียเกินกว่า25 ตัวแพะตัวผู้ควรได้รับการตัดแต่งกีบเสมอๆ และอาบน้ำ กำจัดเหา เป็นครั้งคราว
2.การเลี้ยงดูแม่พันธุ์แพะ
แพะพันธุ์พื้นเมืองมักเริ่มเป็นสัดตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยอาการเป็นสัดของแพะ ตัวเมียจะเป็นประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นจะเป็นสัดครั้งต่อไปห่างจากครั้งแรกประมาณ 21 วัน แพะตัวเมียเริ่มให้ได้รับการผสมพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือน การผสมพันธุ์แพะตัวเมียตั้งแต่อายุยังน้อยๆอาจทำให้แพะแคระแกร็นได้ หลังจากได้รับการผสมพันธุ์แล้วอาจจะปล่อยแพะตัวเมียเข้าฝูงโดยไม่ต้องให้การ ดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด นอกจากแพะตัวเมียนั้นจะผอมหรือป่วย ถ้าแพะตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วกลับมาเป็นสัดอีกภายหลังจากผสม พันธุ์ไปแล้ว 21 วัน ให้ทำการผสมพันธุ์ใหม่หากแพะตัวเมียยังกลับเป็นสัดใหม่อีก และพ่อพันธุ์แพะที่ใช่ผสมมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี ก็ควรจะคัดแพะตัวเมียที่ผสมไม่ติดนี้ทิ้งเสีย
โดยปกติแพะตัวเมียที่ผสมติดจะตั้งท้องนานประมาณ 150 วัน ลักษณะอาการใกล้คลอดจะเห็นได้ดังนี้
-เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้นก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน
-แม่แพะจะแสดงอาการหงุดหงิด ตื่นเต้น และร้องเสียงต่ำๆ
-บริเวณสวาป ด้านขวาจะยุบเป็นหลุมก่อน จากนั้นจะเห็นรอยยุบเป็นหลุมชัดที่สะโพกทั้ง 2 ข้าง
-อาจมีเมือกไหลออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อยก่อนคลอดหลายวันจากนั้นน้ำเมือกจะมีลักษณะ เปลี่ยนเป็นขุ่นขึ้น และสีเหลืองอ่อนๆ
-อาจจะคุ้ยเขี่ยหญ้า หรือฟางรอบๆ ตัวเหมือนจะเตรียมตัวคลอด
-แม่แพะจะหงุดหงิดมากขึ้นทุกที เดี๋ยวนอนเดี๋ยวลุกขึ้น แล้วนอนลงเบ่งเบาๆ
เมื่อแม่แพะแสดงอาการดังกล่าว ควรปล่อยแม่แพะให้อยู่เงียบๆ อย่าให้มันถูกรบกวน เตรียมผ้าเก่าๆ ด้ายผูกสายสะดือ ใบมีดโกน และทิงเจอร์ไอโอดีนไว้ เมื่อถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว ลูกแพะจะคลอดออกมาภายใน 1 ชั่วโมง หากแม่แพะเบ่งนานและยังไม่คลอด จะช่วยให้ลุกแพะในท้องคลอดง่ายขึ้น
ทันทีที่ลูกแพะคลอดออกมา ให้ใช้ผ้าที่เตรียมไว้เช็ดตัวให้แห้งพยายาม เช็ดเยื่อเมือกในจมูกออกให้หมดเพื่อให้ลูกแพะหายใจได้สะดวก จากนั้นผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วตัดสายสะดือและทาทิงเจอร์ไอโอดีน เมื่อตัดสายสะดือแล้วอุ้มลูกแพะไปนอนในที่ที่เตรียมไว้หากเนไปได้ควรนำลูก แพะไปตากแดดสักครู่เพื่อให้ตัวลูกแพะแห้งสนิท จะช่วยให้ลูกแพะกระชุ่มกระชวยขึ้น รกจะขับออกมาภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่า 6 ชั่วโมงแล้วรกยังไม่ถูกขับออก ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์ หลังจากคลอดให้เอาน้ำมาตั้งให้แม่แพะได้กินเพื่อทดแทนของเหลวที่ร่างกายสูญ เสียไป

3. การดูแลลูกแพะ
ควรให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะและปล่อยให้ลูกแพะได้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน ถ้าต้องการรีดนมแพะก็ให้แยกแม่แพะออก ระยะนี้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนมละลายน้ำในอัตราส่วนหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน การให้อาหารลูกแพะในระยะต่างๆ สามารถดูได้จากตารางในเรื่องการให้อาหาร ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เกษตรกรไทยโดยทั่วไป มักไม่ได้แยกลูกแพะออกจากแม่ตั้งแต่เล็ก ส่วนใหญ่จะปล่อยลูกแพะให้อยู่กับแม่แพะจนมันโต ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่แพะมักไม่สมบูรณ์และผสมพันธุ์ ได้ช้าเพราะแม่แพะไม่ค่อยเป็นสัด ดังนั้นทางที่ดีหากเกษตรกรยังให้ลูกแพะอยู่กับแม่แพะตั้งแต่เล็กๆ ก็ควรแยกลูกแพะออกจากแม่แพะเมื่อลูกแพะมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน ลูกแพะที่มีอายุ 3 เดือน เราสามารถทำการคัดเลือกไว้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์แพะตัวผู้ที่ไม่ต้องการผสม พันธุ์ก็ทำการตอนในระยะนี้ หากไม่ต้องการให้แพะมีเขาก็อาจกำจัดโดยจี้เขาด้วยเหล็กร้อนหรือสารเคมีก็ได้
ภายหลังหย่านม ควรทำการถ่ายพยาธิตัวกลม ตัวตืดและพยาธิใบไม้ในตับ ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและวัคซีนป้องกันโรคเฮโมเรยิกเซ พติกซีเมีย การถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แพะมีสุขภาพที่ดี และสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 8 เดือน
แม่แพะที่คลอดลูกแล้วประมาณ 3 เดือน เมื่อเป็นสัดก็สามารถเอาพ่อพันธุ์แพะมาทำการผสมพันธุ์ได้อีก หากแม่แพะใช้รีดนมผู้เลี้ยงก็รีดนมแม่แพะได้จนถึง 6-8 สัปดาห์ก่อนคลอดจึงหยุดทำการรีดนม
แพะ.com © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by Guru