Saturday, February 2, 2013

โครงการศึกษาการเลี้ยงแพะขุนโดยใช้กระถินสด
โดย ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุทัยธานี

อาชีพการเลี้ยงแพะเป็นอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรสนใจและกำลังนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพราะ แพะเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้ผลผลิต เร็วอีกด้วย เกษตรกรนิยมเลี้ยงแพะโดยปล่อยให้แพะหากินเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะสังเกตุเห็น ได้ว่าหากเป็นฤดูฝนมีหญ้ามาก แพะก็จะมีรูปร่างที่ดี ค่อนข้างอ้วน เพราะมีอาหารตามธรรมชาติ ิเป็นจำนวนมากแต่ในทางกลับกัน ฤดูแล้ง หญ้าธรรมชาติมีน้อย ทำให้แพะได้รับอาหารไม่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายสุขภาพไม่ค่อยดี ต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก อีกทั้ง ในปัจจุบัน พื้นที่ว่างเปล่าหลังฤดูเก็บเกี่ยวจะมีน้อย เพราะเกษตรกรจะทำการเกษตร ต่อเนื่อง หรือถ้าหากมีก็มักจะตรงกับฤดูแล้งเสมอ เกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชได้ เพราะน้ำไม่พอเพียง ทำให้เกิดปัญหาด้านอาหารของแพะในฤดูดังกล่าว จึงทำให้มีเกษตรกรบางส่วน นำกระถิน มาเสริมให้แก่แพะหลังจากปล่อยให้หากินตามธรรมชาติแล้ว ทำให้แพะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ ในช่วงที่อาหารขาดแคลนกระถิน เป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่รู้จักกันดีในแง่เป็นอาหารสัตว์ และคนสามารถนำมาใช้บริโภคได้ ประเทศไทยนิยมปลูกกระถินใช้เลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์เล็ก และสัตว์เคี้ยวเอื้องมานานหลายปีแล้ว เนื่องจากเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีมีเปอร์เซ็นต์ โปรตีนถึง 21 – 27 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่นมาก มีอายุยืน และเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วหลังตัดใช้ประโยชน์ สัตว์ชอบกินและย่อยได้สูง แต่กระถินในลักษณะสด จะมีสารพิษที่เรียกว่า ไมโมซิน ถ้าสัตว์กินมาก ๆ จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ขนร่วงและเป็นอันตรายอาจถึงตายได้ แต่ถ้ากินในลักษณะแห้ง สารพิษไมโมซินจะถูก ทำลายไป ก็จะไม่เกิดอันตรายและหากนำมาให้กินหรือผสมในอาหารสัตว์ (อาหารข้น) ในปริมาณมาก ๆ จะมีความฟ่าม สัตว์ก็จะไม่ค่อยกิน ดังนั้นการใช้กระถินแห้งในอาหารข้น จึงกระทำได้ในอัตราส่วนที่จำกัด ส่วนกระถินสดได้มาจากการปลูกแล้วในธรรมชาติ ยังมีกระถินเกิดขึ้นมาก ซึ่งไม่มีการใช้ประโยชน์มากนักและกระถินในธรรมชาติ ก็ยังให้ผล ผลิต คือ ใบสีเขียวตลอดทั้งปี ดังนั้น หากสามารถนำกระถินสดมาให้สัตว์กินได้ในช่วงแล้ง หรือช่วงอาหารสัตว์ตามธรรมชาติขาดแคลน ก็จะสามารถทำให้สัตว์เจริญเติบโตได้เป็นปกติ และสามารถเพิ่มน้ำหนักได้จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ จะนำกระถินสดมาให้แพะกินร่วมกับอาหารข้น และหญ้าคุณภาพเช่น หญ้ากินนีสีม่วง-หรือหญ้ารูซี่ ก็สามารถทำให้แพะเจริญเติบโตได้ดี แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง ในการที่จะให้แพะกินกระถินสด เป็นอาหารหยาบ เพียงอย่างเดียว ว่าจะสามารถเลี้ยงได้โดยวิธีใด อัตราการเจริญเติบโตเท่าใดคุ้มค่าหรือไม่ สุขภาพแพะจะเป็นอย่างไร ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุทัยธานี จึงได้ทำการศึกษา การเลี้ยงแพะขุนโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว ดังกล่าว

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของแพะและสุขภาพแพะ
    2. เพื่อศึกษาแนวทางการเลี้ยงแพะแบบประหยัดต้นทุน
    3. เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบให้เกษตรกรมาศึกษาดูงานเป้าหมาย
    เลี้ยงลูกแพะหย่านมพันธุ์พื้นเมืองคละเพศ จำนวน 10 ตัว โดยใช้กระถินสดอย่างเดียว

    วิธีดำเนินการ

    1. จัดหาลูกแพะหย่านมพันธุ์พื้นเมือง คละเพศ อายุ 2 – 3 เดือน จำนวน 10 ตัว
    2. สร้างโรงเรือนยกพื้นและรั้ว
    3. จัดหาอุปกรณ์การเลี้ยง เครื่องชั่งน้ำหนัก และแหล่งกระถินซึ่งมีมากบริเวณภาย ในศูนย์วิจัยฯอุทัยธานี
    4. จัดหาอาหารแร่ธาตุและเวชภัณฑ์ในการป้องกันรักษาโรค
    5. เลี้ยงแพะโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว
    6. ชั่งน้ำหนักแพะทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ชั่งน้ำหนักกระถินที่กินทุกวัน ตลอดระยะเวลาที่ศึกษา 3 เดือน
    7. บันทึกสุขภาพแพะ ตลอดระยะเวลาศึกษา
    8. รวบรวมสรุปผลการศึกษา
    9. รายงานผลและเผยแพร่สู่เกษตรกร

    ผลการศึกษา

    ก่อนที่จะให้ลูกแพะทุกตัวกินกระถินสดเพียงอย่างเดียวต้องมีการปรับสภาพการกินอาหาร ของลูกแพะหย่านมเสียก่อน เนื่องจากฟาร์มที่ไปจัดหาลูกแพะหย่านมมาเป็นฟาร์ม ของเกษตรกร แพะเหล่านี้ถูกปล่อยให้หากินหญ้าและพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติมาก่อน การปรับสภาพการกินอาหารทำโดย ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณกระถินสดให้แพะได้กินเพิ่มขึ้น จากน้อยไปหามากจนเป็นกินด้วยกระถินล้วนใช้เวลาประมาณ 10 วัน ซึ่งโดยปกติแพะ จะกินพืชอาหารสัตว์ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว จากวันที่ 1 ถึงวันที่ 10 ให้กินหญ้า 9 ส่วน กระถิน 1 ส่วน วันที่ 2 กินหญ้า 8 ส่วน กระถิน 2 ส่วน จนถึงวันที่ 9 กินหญ้า 1 ส่วน กระถิน 9 ส่วน วันที่ 10 กินกระถินล้วน 10 ส่วน โดยการกินแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าหนึ่งครั้ง และช่วงบ่าย 1 ครั้ง ก่อนทำการศึกษาได้มีการถ่ายพยาธิลูกแพะ ทุกตัว ทำการชั่งน้ำหนักลูกแพะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และชั่งน้ำหนักกระถินทุกวัน

   

ผลการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของแพะและสุขภาพ
การเจริญเติบโตของลูกแพะหย่านม โดยให้กินกระถินสดเพียงอย่างเดียว เริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 รวม 85 วัน ดังตารางต่อไปนี้ 


ตารางที่ 1 แสดงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจ็บป่วย
รายละเอียดที่ศึกษา
หมายเลขแพะ
เฉลี่ย
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ระยะเวลาศึกษา
85
85
85
85
85
85
85
85
85
85
85
น้ำหนักเริ่มต้น (ก.ก.)
14.9
12.9
15.5
16.0
13.5
13.7
12.1
11.3
16.1
11.7
13.77
น้ำหนักสิ้นสุด (ก.ก.)
21.0
19.8
19.9
20.2
17.9
18.6
16.9
15.9
20
17.4
18.76
น้ำหนักเพิ่ม (ก.ก.)
6.1
6.9
4.4
4.2
4.4
4.9
4.8
4.6
3.9
5.7
4.99
อัตราการเจริญเติบโต/กรัม/วัน 71.76
81.18
51.76
49.41
51.76
57.65
56.47
54.12
45.88
67.06
58.70
อัตราการเจ็บป่วย (ครั้ง)
1
2
1
-
2
1
1
-
1
1
1
จากตารางที่ 1.

จากตารางที่ 1. พบว่าในระยะเวลาการศึกษาจำนวน 5 วัน (5 กรกฎาคม-27 กันยายน2547)
แพะทั้ง 10 ตัวมีน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้นศึกษา 13.77 กิโลกรัม น้ำหนักสิ้นสุด 18.76 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 4.99 กิโลกรัม อัตราเจริญเติบโตเฉลี่ย 58.70 กรัม/ตัว/วัน อัตราการเจ็บป่วยเฉลี่ย 1 ครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา
สำหรับปริมาณกระถินที่แพะกินทั้งหมดตลอดระยะเวลาการศึกษา 85 วัน แพะจำนวน 10 ตัว กินกระถินสดไปทั้งสิ้น 1,900.9 กิโลกรัม สามารถเพิ่มเป็นน้ำหนักตัวแพะได้ทั้งสิ้น 49.90 กิโลกรัม หรือแพะใช้กระถินสดจำนวน 38.09 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม หรือแต่ละวันแพะกิน
กระถินสดเฉลี่ยตัวละ 2.23 กิโลกรัม เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัว 58.70 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อตัว/วัน เท่ากับ 2.93 บาท (ราคาแพะเพศผู้มีชีวิต ราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพศเมีย ราคาสูงกว่า เท่าตัว)
ในส่วนของผลตอบแทนที่ได้รับจากการเลี้ยงแพะด้วยกระถินสดเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่า สุขภาพของแพะดีมาก อัตราการเจ็บป่วยน้อย เฉลี่ยตัวละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการศึกษา 85 วัน ค่าใช้จ่าย
ในการนำพาหนะไปตัดกระถินสดก็น้อยมาก ตัดเพียงวันละครั้ง ๆ ละประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว หากแหล่งกระถินอยู่ใกล้ที่เลี้ยงค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าน้ำมัน ก็น้อย หากแหล่งกระถินอยู่ไกล ค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันก็จะมากขึ้นอีกทั้ง เลี้ยงในระบบนี้แพะไม่ต้องออกไปหากินตามธรรมชาติ ซึ่งอาจต้องจ้างคนเลี้ยง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนเพิ่มอีก เลี้ยงวิธีนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้การเลี้ยงแพะโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว แบบล้อมคอกเป็นวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมประหยัดต้นทุน และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

สรุปผลการศึกษา

การศึกษาการเลี้ยงแพะขุนโดยกระถินสดเพียงอย่างเดียว โดยการตัดให้กินในคอกซึ่งมีบริเวณพอสมควร โดยเลี้ยงลูกแพะหย่านมคละเพศ จำนวน 10 ตัว ใช้ระยะเวลา 85 วัน ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 27 กันยายน 2547 ที่ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุทัยธานี โดยมีน้ำหนักแพะเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้นศึกษา 13.77 กิโลกรัม น้ำหนักสิ้นสุด 18.76 กิโลกรัม มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.99 กิโลกรัม/ ตัว อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 58.70 กรัม/ ตัว/ วัน อัตราการเจ็บป่วยเฉลี่ย 1 ครั้ง/ ตัว แพะจำนวน 10 ตัว กินกระถินสดไปทั้งสิ้น 1,900.9 กิโลกรัม
เฉลี่ยกินกระถินสดต่อตัว 190.90 กิโลกรัม แพะสามารถใช้กระถินสดเฉลี่ย 38.09 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำหนักขณะมีชีวิต 1 กิโลกรัม หรือใช้กระถินสดเฉลี่ย 2.23 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำหนักเฉลี่ย/ตัว/วัน 58.70 กรัม คิดเป็นรายได้ต่อ/ตัว/วัน เป็นเงิน 2.93 บาท (คิดราคาแพะเนื้อเพศผู้ถ้าเป็นเพศเมียราคาสูงกว่าเท่าตัว) ต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงด้วยวิธีนี้ ต่ำมาก ผลตอบแทนคุ้มค่า เหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะนำไปเป็นแนวทาง ในการทำฟาร์มแบบประหยัดต้นทุน

วิจารณ์


    จากการศึกษาพบว่า การขุนแพะโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว ทำให้แพะได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ ต่อการดำรงชีพและสร้างผลผลิต โดยไม่ต้องเสียเวลาไปไล่เลี้ยง โดยเสี่ยงต่อโรคที่อาจติดจากสัตว์ฝูงอื่นได้ การปลูกกระถินหรือตัดกระถินที่ขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่ จำนวนมากมาเลี้ยงแพะอย่างเดียว สามารถทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่าย หรือเวลาลงได้ และสามารถได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพราะกระถินนอกจากจะหาง่ายแล้ว กระถินเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมี โปรตีน 21-27 เปอร์เซ็นต์
    เป็นพืชที่ปลูกเพียงครั้งเดียว ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายปี ดังนั้น การใช้กระถินสด ในการเลี้ยงแพะขุนระยะสั้น สามารถทำให้เกษตรกรลดต้นทุน การผลิต ได้ผลตอบแทนเร็ว อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่า ของกระถินซึ่งมีอยู่มากมายในธรรมชาติซึ่งไม่มีค่า เปลี่ยนเป็นเนื้อแพะ ซึ่งมีราคาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงแพะเนื้อซึ่งปกติ น้ำหนักส่งตลาดประมาณ 20-25 กิโลกรัม ใช้เวลาเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติถึง 10 - 12 เดือน แต่ถ้าเลี้ยงโดยกระถินสดอย่างเดียว ระยะเวลาการเลี้ยงจะสั้นลง เหลือเพียง 6 - 8
    เดือน ก็มีน้ำหนักส่งตลาดได้แล้ว ปีหนึ่งสามารถเลี้ยงได้ เกือบ 2 รุ่น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวของเกษตรกรด้วย


ข้อเสนอแนะ

1.ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ครั้งนี้
ข้อด
ข้อเสีย
1. ประหยัดเวลาเพียงตัดกระถินให้กินวันละครั้งเท่านั้น
1. บริเวณโรงเรือนคอกแพะ ต้องมีพื้นที่พอ
เหลือไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้
สมควรให้แพะได้มีพื้นที่วิงเล่นออกกำลังกายบ้าง
2. ไม่ต้องจ้างคนเลี้ยงเสียเงินค่าจ้าง
2. ต้องมีแหล่งกระถินสดอยู่ใกล้แหล่งที่เลี้ยง
3. โอกาสติดโรคระบาดและโรคพยาธิแทบไม่มี
และมีปริมาณเพียงพอทั้งปี
4. เปลี่ยนกระถินซึ่งไม่มีราคาเป็นเนื้อได้วันละ 58.70 กรัม
 
หรือ 2.93 บาท/ตัว (แพะมีชีวิต ก.ก. ละ 50 บาท)
 
5. ไม่ต้องเสริมด้วยอาหารข้นเพราะกระถินมีโปรตีนสูง
 
ทำให้ประหยัดต้นทุน และเลี้ยงได้ปีละ 2 รุ่น
 
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

2.1 ศึกษาการเลี้ยงแพะขุนโดยใช้แพะพันธุ์อื่น ๆ
2.2 ศึกษาอาหารหรือพืชอาหารสัตว์ ที่แพะชอบกิน และการให้ผลผลิตของแพะจากการกินอาหารหรือพืชอาหารสัตว์นั้น ๆ


Tagged:

0 comments:

Post a Comment

แพะ.com © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by Guru