Saturday, February 2, 2013

เลี้ยงแพะ-แกะเศรษฐกิจอีกหนึ่งทางเลือกเลี้ยงได้ไม่ยาก
 
ดัง นั้นก็ติดต่อมาที่หมอเอี่ยมท่านมีแพะอยู่ 127 แม่ ท่านก็ขายให้เราก็เลยได้ แม่พันธุ์แพะมาอีก 127 แม่ เฉลี่ยปีละ 300 ตัวมีตลาดผู้ซื้อพันธุ์แพะตัวผู้ ขุน มีตลาดซื้อเพาะเนื้อซึ่งราคาไม่แพง คือตัวเมียที่ปลดระวาง ก็แยก เลี้ยง เรามีปัญหาเรื่องอาหารเราก็พัฒนาการให้อาหารโดยใช้วัสดุที่มีในท้อง ถิ่นคือใบไม้เอาหัวมันที่เหลือจากขายแล้วมาสับตากแดดต้นข้าวโพด กฐิน ณรงค์ ใบมัน ข้าวโพด เนื้อมันสับมันเส้นผสมซึ่งมีไขมันและมีพลังงานสูงใช้ เลี้ยงแพะต้นทุนกิโลละประมาณ 2 บาท                                            
เมื่อ เราเริ่มเลี้ยงไประยะหนึ่งก็เห็นว่าแพะมีการออกลูกดกถ้ามีการจัดการโรคที่ดี หมายถึงปัจจุบันเรามีสมุนไพรสองสูตรคือบำรุงทางด้านโรคและก็บำรุงด้านน้ำนม ด้วยเพราะสัตว์เหล่านี้จะมีปัญหาในช่วงปลายฝนต้นหนาวหรือฝนตกมากเขาก็จะปอด บวม ก็ต้องหาสมุนไพรรักษาคือสมุนไพรมี 5ชนิดผสมกับอาหาร  




โดย มีใบมะรุม ใบกะเพรา โหระพา ตะไคร้ สำคัญที่สุด คือแก้ไข้หวัดคือใบห้าทะลาย โจร เพราะแพะสามรถกินพืชที่มีรสขมได้ดี สับรวมกันปนกันและเมื่อเราทำอาหาร เสร็จก็โรยสมุนไพรด้านหน้า กันติดต่อกัน 10วันรวมทั้งนรักษาโรคทางเดิน หายใจ ทางเดินอาหาร สมุนไพรมีแคลเซียมสูงเพราะในใบมะรุมมีวิตามินซีสูงกว่า ส้มถึงเจ็ดเท่า ซึ่งช่วยต้นทุนการซื้อยา ซึ่งมีต้นทุนประมาณ 80%ต่อ เดือน หรือ 800บาท   
ถ้าเรา ใช้สมุนไพรรักษาใช้เวลานานมากขึ้นไม่ถึงสิบวันก็ดีขึ้น โดยให้เขากินสมุนไพร พร้อมอาหารโดยได้สูตรมาจากคุณหมอบุญเลิศ ที่เป็นแพทย์แผนไทยท่านมาแนะนำว่า การใช้สมุนไพรผู้บริโภคจะได้ทานเนื้อแพะ แกะที่ดี ไม่มีสารตกค้าง

ตอนนี้เรามีแม่แพะประมาณ 300ตัวและส่งสมาชิกผลิตทุกปี รวมมีแพะ 600 ตัวและ มีแกะ 100ตัว รวม700ตัว เป็นพันธุ์ลูกผสม กึ่งเนื้อกึ่งนมสามสายพันธุ์ก็ถือเป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองได้ดี ทำรายได้ดี  เพราะตามหลักธุรกิจถ้าขายอะไรที่คนไม่กินมันก็เหลือ ส่วนแพะ มุสลิมนอกจากกินยังนำมาประกอบพิธีกรรมในช่วงเดือนรอมอฎอนจะขายดีในช่วง ธ.ค.และงานเมาริดกลางมีการออกบูธอาหารปกติจัดที่สวนอัมพรแต่ตอนนี้มาจัดที่ หนองจอก เราจะมีลูกค้ามาซื้อประจำ 

   
สมาชิก ชมรมมี 215 ฟาร์ม 7,000 ตัว มวกเหล็ก 47 ฟาร์ม เราต้องมารวมตัวทำสต๊อก เพื่อขายสินค้าของเราเป็นลิ๊อตใหญ่ เพราะแพะที่ได้น้ำหนัก 25-40 กก. เดือนหนึ่ง 200ตัว ต้องมีอย่างน้อยสต๊อก 500 ตัวเราต้องใช้แม่พันธุ์ถึง 2 หมื่นแม่ ตอนนี้มีเจ็ดพันแม่ เราทำมาห้าปีแล้วเราเลี้ยงแพะแกะรวมกันเพราะเราได้ใช้แปลงสมบูรณ์แบบเพราะ แพะกินใบไม้ 75% กินหญ้า 25%แต่แกะกินหญ้า75%และแพะจะปีนกิน เขาจะทนร้อนได้ดีเพราะไขมันใต้ผิดหนังบางมากแล้วขนเขาจะเงามันพอแดดสะท้อนมา ก็จะสะท้อนกลับเขาจะไม่ค่อยร้อนหรือเหนื่อยง่าย
นี่ คือคุณสมบัติของแพะจะเลี้ยงในหน้าร้อนในทะเลทรายได้ดีกินน้ำวันละ 2กิโล ถ้าปล่อยออกหากิน แต่ถ้าเลี้ยงแบบที่ผมทำคือขังเลี้ยงกินน้ำประมาณครึ่กก.ต่อวัน คือจะกินน้ำประมาณ หนึ่งในสามเพราฉะนั้นมันจะลดต้นทุนลง ตอนนี้เรามีเนื้อที่เลี้ยงแพะประมาณ 40 ไร่ แกะประมาณ 10ไร่ แบ่งเป็นล๊อกใหญ่ๆแล้วกั้นเป็นคอกๆละ 10 ไร่ ทั้งหมด 52ไร่ แล้วก็บริเวณบริหาร 20ไร่ ผลผลิตของชมรมการผลิตต้องอาศัยการรวมกลุ่มกันขาย 

   
สำหรับ รายได้โดยเฉลี่ยประมาณ 1 แสนบาทต่อเดือนนี่คือหักต้นทุนแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆที่ใครจะทำเพราะว่าถ้าคนเลี้ยงไม่ มีความรู้ ไม่มีการจัดการฟาร์มไม่มีการลดต้นทุนอาหารไม่มีการยกระดับสายพันธุ์ที่โต เร็ว และไม่รู้ช่องทางตลาดก็ไม่สามารถที่จะมายืน ณ จุดนี้ได้
ผม ผ่านการลองผิดลองถูกมาตั้งห้าปี แพะตายไปหลายตัวในแต่ละปีตายเพราะฝนตก เข้าคอกไม่ทันปอดบวม แล้วก็ที่บังไม่ดีนอนตามมุมลงโกรกเขาก็เป็นหวัด เป็นไข้จับสั่น ลูกแพะเล็กๆส่วนใหญ่จะตายตอนนี้เราเลยใช้ระบบสแลนกันลมกันฝนค่อยๆเรียนรู้ไป เพราะเป็นปัญหาที่เราต้องเจอและเรามีปัญหาเรื่องเวลาเพราะการเปิดอบรมแต่ละ รุ้นแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อนมีคนสนใจเยอะแต่เราอบรมได้แค่ครั้งละ 50คนส่วน ใหญ่เป็นเกษตรกรจาก 14จว.ภาคใต้ จากพัทลุง ภูเก็ต นครฯ
การ เลี้ยงแพะ แกะ ไม่สามารถที่จะเลี้ยงได้ทุกจังหวัด แต่ใน3จว.ภาคใต้มีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก แต่มีผู้เลี้ยงน้อย แต่เวลาใช้ต้องใช้จากภาคกลางทั้งหมด เกือบ 80% โดยการเลี้ยงที่นี่มีความเหมาะสมต้องไม่มีฟาร์มสัตว์อื่นใน ระยะ 5กม.
อยาก แนะนำให้ว่าคนที่อยากทำอาชีพนี้อันดับแรกต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเงินทุนเท่า ไหร่ ทางชมรมคิดค่าอุปกรณ์ฝึก 3วั นประมาณ5000บาท การส่งเสริมทำผลิตภัณฑ์น้ำนมแพะ น่าจะแพงกว่านมวัวประมาณลิตรละ 100บาท แต่นมวัวประมาณ 18บาทเราเลยคิดว่าน่าจะนำนมมาผลิตเป็นสบู่ และต่อยอดนำขนแพะมาทำกระเป๋า เข็มขัดเป็นหมวก เป็นรองเท้ามีการส่งออกบ้างสนใจติดต่อได้ที่เบอร์ 089 2131424 
          การ เลี้ยงแพะของคุณลุงจวนนั้นอย่างที่กล่าวมาว่าคุณลุงจวนได้มีโอกาสเข้าร่วม ชมรมส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์แพะ-แกะ อำเภอมวกเหล็กด้วย จึงได้รับข้อมูลความรู้ต่างๆและเห็นประโยชน์ของการรวมกลุ่ม พอเลี้ยงได้ประมาณ 10 สัปดาห์ทางสมาชิกที่นำแพะมาให้ลุงจวนเลี้ยงจะ มาจับผลต่างของน้ำหนักจะเป็นกำไรกลับคืนมา โดยราคาที่รับมาจากชมรมนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 55 บาท น้ำหนักแพะ 15-20 กิโลกรัม ขายคืนชมรมได้กิโลกรัมละ 60 บาท แต่ละตัวน้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 15-16 กิโลกรัมในระยะเวลา 3 เดือนก็จะได้เป็นรายได้กลับคืนมานั้นเอง


แพะที่ลุงจวนเลี้ยงนั้นจะมาจากสมาชิกไม่ได้ลงทุนก่อน แล้วนำมาขุนจำนวน 3 เดือนจึงสามารถจำหน่ายออกได้ โดยลุงจวนจะทำคอกไว้ 3 ล๊อค ในการเลี้ยงนั้น 1 รุ่น ลุงจวนจะเลี้ยงประมาณ 20-30 ตัวไม่เกินจำนวนนี้เพราะโรงเรือนแต่ละล๊อคจะรับจำนวนแพะได้ไม่เกิน 30 ตัว พอเลี้ยงไว้ที่ล๊อคที่ 1 ครบ 1 เดือนก็จะย้ายไปล๊อคที่สอง และสามต่อไปจนครบสามเดือนก็สามารถนำแพะขุนนั้นไปขายได้ จะสังเกตุว่าแพะที่ลุงจวนเลี้ยงนั้นน้ำหนักจะเพิ่มเฉลี่ยตัวละ 15 กิโลกรัม ส่วนต่างน้ำหนักตัวครั้งแรกกับส่วนต่างนี่แหละคือกำไรที่ลุงจวนจะได้เป็นราย ได้นั้นเอง และสังเกตุว่าแพะทุกตัวของลุงจวนจะสมบูรณ์ จะมีแพะที่อยู่ล๊อคแรกนั้นจะผอมเพราะยังขุนไม่ได้ที่ โรงเรือนของลุงขวนนั้นจะไม่ยกพื้นหรือยกระดับเพราะประหยัดต้นทุนในการทำโรง เรือนด้วย และใช้วัสดุที่หาได้ง่ายนั้นก็คือไม้ไผ่และไม้กะกินนี้เอง

ลุงจวนกล่าวว่า คอกแพะจะแบ่งแพะออกเป็น 3 ล๊อค 3 เกรด แพะของลุงจวนจะใช้เวลาเลี้ยงขุนเพียง 3 เดือนเท่านั้น
เกรดที่หนึ่ง นั้น จะเป็นคอกพักแพะที่นำมาใหม่ จะดูแลเรื่องสุขภาพร่างกายดูว่าแพะป่วยหรือไม่ ต้องทำการรักษาหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหา พอครบ 1 เดือนก็จะย้ายไปสู่เกรดที่สอง

เกรดที่สอง นั้นจะเป็นเกรดที่แพะเริ่มมีเนื้อมีหนัง เริ่มขุนได้ที่นั้นเอง สังเกตุว่าขนจะมันและดูสุขภาพดี พอครบ 1 เดือนก็สามารถย้ายไปเกรดที่สามได้

สำหรับเกรดที่สาม นั้นเป็นแพะขุนที่สามารถจำหน่ายได้แล้ว ลักษณะจะดูอ้วนได้น้ำหนักดี ขนของแพะขุนนั้นจะมันวาว หากช่างน้ำหนักดูจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในแต่ละรุ่นนั้นคุณลุงจวนจะมีกำไรกับการเลี้ยงแพะขุนอยู่ที่ 3-4 หมื่นบาท และยังมีรายได้ที่ได้จากการเผาถ่านไม้กระกินหลังจากที่นำกระถินมาให้แพะกิน แล้วก็จะเหลือเศษไม้นำไปเผาเป็นถ่านนั้นเอง

เมื่อ ครบสามเดือนแล้วจำหน่ายแพะในคอกนั้นหมดจะต้องมีการทำความสะอาดคอกหรือโรง เรือนของแพะด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ ลุงจวนจะใช้น้ำยาราดพื้นโรงเรือนให้ทั่ว จากนั้นก็โรยปูนขาวให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน พอครบก็สามารถนำแพะลงเลี้ยงได้เลย และเมื่อลงแพะแล้วต้องสังเกตุว่ามีแพะป่วยหรือไม่ ถ้ามีแพะป่วยจะต้องแยกแพะตัวนั้นไว้ต่างหากเพื่อที่จะรักษาให้หายไม่แพร่ เชื้อไปยังตัวอื่น และลุงจวนได้บอกเคล็ดลับว่าการเลี้ยงแพะขุนสังเกตุว่าแพะจะอ้วนไหมหรือกำลัง จะอ้วนนั้นสังเกตุได้จากการที่แพะเปลี่ยนขน ถ้าเปลี่ยนขนเมื่อไรแสดงว่าแพะตัวนั้นกำลังจะอ้วนจะกลายเป็นขนมันนั้นเอง

การ เลี้ยงแพะขุนเกษตรกรหลายรายเห็นว่ายุ่งยาก เรื่องอาหารแพะที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ แต่จากประสบการณ์ของลุงจวนนั้นบอกว่ายิ้มได้เลยสำหรับอาหารแพะเ พราะแพะที่ลุงจวนขุนอยู่ทุกวันนี้แทบจะไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร เลย นอกจากเสียค่าน้ำมันรถมอเตอร์ไซด์ที่ขับออกไปเพื่อไปตัดต้นกระถินมาให้แพะ กิน เพราะต้นกระถินนั้นจะเกิดตามไหล่ทางถนนและเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดของแพะขุน เป็นอาหารที่ขุนแพะให้อ้วนได้อย่างดี สำหรับการให้อาหารแพะของลุงจวนนั้นนอกจากกระถินแล้วก็จะมีหญ้าที่ขึ้นมารอบๆ โรงเรือนก็สามารถตัดเป็นชิ้นเล็กๆให้แพะกินได้ อีกอย่างหนึ่งนั้นก็คือมันสำปะหลังตากแห้งก็สามารถนำมาเพิ่มเนื้อของแพะได้ สำหรับเวลาในการให้อาหารแพะขุนของลุงจวนนั้นจะมีสองเวลา ในช่วงเช้าจะให้อาหารเวล 08.00 น. ส่วนช่วงเย็นนั้นจะให้เวลา 15.00-16.00 น. ต้นทุนอาหารไม่สูง โรงเรือนทำแบบง่ายๆใช้ไม่กระถินกกั้นเป็นคอก ต้นทุนจึงถูกแค่เพียงทำความสะอาดพื้นคอกที่เป็นดินให้สะอาดก็สามารถเลี้ยง แพะให้มีสุขภาพดีได้
โรง เรือนทำแบบง่ายๆใช้ไม่กระถินกกั้นเป็นคอก ต้นทุนจึงถูกแค่เพียงทำความสะอาดพื้นคอกที่เป็นดินให้สะอาดก็สามารถเลี้ยง แพะให้มีสุขภาพดีได้


ใน การเลี้ยงแพะนั้น เกษตรกรหลายท่าน คงต้องเจอกับปัญหาแพะท้องเสีย ซึ่งวันนี้ คุณลุงจวน ช่างย้อม เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ได้แนะวิธีการดี ๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคท้องเสียในแพะ มาบอกต่อพี่น้องชาวเกษตรกรที่เลี้ยงแพะด้วยกัน โดยมีวิธีการและรายละเอียดแบบง่าย ๆ ดังนี้

เทคนิคการรักษาโรคท้องเสียของแพะ
 
วัสดุอุปกรณ์

1. เกลือแกง 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำตาลทราย 8 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำเปล่า 5 ลิตร
4. ผงชูรส (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)


วิธีการทำ
นำส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้ มาผสมรวมกัน คนให้ละลาย

วิธีการใช้
ให้นำมากรอกให้แพะที่มีอาการท้องเสีย โดยกรอกให้กินประมาณ 3 วัน ซึ่งวันแรกจะให้ปริมาณที่เยอะที่สุด ประมาณ 1 ลิตร แล้ววันที่ 2 และ 3 สังเกตอาการของแพะ ถ้าแพะกินอาหารได้ดีขึ้น ก็ให้ค่อย ๆ ลดปริมาณ การให้ลดลงเรื่อย ๆ จนแพะหายเป็นปกติ
กระทรวงเกษตรฯ หนุนสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาดแพะมากขึ้น หวังเพิ่มปริมาณความต้องการบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่ม 
 

กระทรวงเกษตรฯ หนุนสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาดแพะมากขึ้น หวังเพิ่มปริมาณความต้องการบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่ม พร้อมจัดงานวันแพะแห่งชาติกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดการตื่นตัวในการพัฒนาการเลี้ยงและปรับปรุงสายพันธุ์แพะอย่างยั่งยืน

 นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์แพะของไทยในขณะนี้ว่า การเลี้ยงส่วนใหญ่มีในภาคใต้ โดยประชากรแพะปัจจุบันมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ประมาณ 3.8 แสนตัวทั่วประเทศ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการในตลาดมีเพิ่มขึ้น โดยราคาที่ซื้อขายขณะนี้เฉลี่ยประมาณ 80-100 บาทต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้อการ ล่าสุดกรมปศุสัตว์ได้จัดสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาดแพะขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตแพะเพื่อจำหน่ายในตลาดมากขึ้น เพราะปัจจุบันไทยไม่ได้มีการส่งเนื้อแพะเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศเนื่องจากความต้องการในประเทศยังมีปริมาณมาก
 อย่างไรก็ตามในอนาคตคาดว่า จะสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดโลกในโลกมุสลิมมีความต้องการอีกมาก ในขณะที่ไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลค่อนข้างน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลของโลก โดยมีประเทศนำเข้าที่สำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีนและประเทศตะวันออกกลาง ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญได้แก่ ออสเตรเลียและมาเลเซีย ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งให้การพัฒนาในด้านการผลิตและการตลาดให้มากขึ้น

  "ขณะนี้เกษตรกรที่เลี้ยงแพะไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงภาคใต้เท่านั้น เกษตรกรเริ่มหันมาสนใจเลี้ยงแพะในเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ภาคใต้ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแพะพื้นบ้านแบบหลังบ้าน เพื่อจำหน่ายในท้องถิ่นและประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้นทำให้มีอัตราการเติบโตช้า" นายอภิชาตกล่าว


การใช้ต้นข้าวโพดทำอาหารเสริมให้กับแพะ

- วิธีทำอาหารเสริมใช้ต้นข้าวโพดสับ60 กก. กากน้ำตาล5ลิตร น้ำ30ลิตร  หมักรวมกันในถังคนทุก2-3วันหมักนาน 21 วันตักเอาแต่กากให้แพะกิน


 ปัจจุบัน การ เลี้ยงแพะมักจะนิยมให้อาหารแพะในรูปแบบอาหารข้น หรืออาหารเม็ด หรือปล่อยให้ แพะออกหาอาหารเองแต่การปล่อยให้แพะออกหารอาหารเองจะทำให้เสี่ยงต่อการติด เชื้อโรคต่างๆ ที่มากับหญ้ายิ่งเป็นบริเวณหญ้าที่เคยเลี้ยงวัว ควาย มา แล้ว ยิ่งทำให้แพะเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่ายขึ้น หากแพะเป็นโรคมา แพะจะไม่ แสดงอาการในระยะแรก แต่จะแสดงอาการเมื่อโรคเข้าทำลายภูมิคุ้มกันของแพะ จน อาการหนักแพะจึงแสดงอาการ แต่หากการใช้อาหารข้นหรืออาหารเม็ดเลี้ยงแพะนั้น จะทำให้ต้นทุนการจัดซื้ออาหารแพะนั้นสูงตามไปด้วย คุณ ศรายุทธ เกษตรกรผู้ เลี้ยงแพะจึงได้คิดสูตรอาหารแพะ โดยใช้ผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่ตามท้องถิ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารแพะเป็นหลักเพื่อลดต้นทุนในการซื้ออาหาร เม็ด



วิธีการ
คุณ ศรายุทธ สุวรรณเสรี กล่าวว่า หากใช้แต่อาหารเม็ดก็จะทำให้ต้นทุนการเลี้ยงแพะนั้นสูงขึ้นตนเองจึงคิดส่วน ผสมให้อาหารแพะโดยมีส่วนผสมต่อ 1 ถังหมัก 60 ลิตร ดังนี้
1.ใช้ต้นข้าวโพดสด สับละเอียด หรือ ต้นข้าวสาลีสดสับละเอียดประมาณ 25 กิโลกรัม
2.กากน้ำตาล 5 ลิตร
3.น้ำสะอาด 30 ลิตร
4.ถังหมักขนาด 60 ลิตร


ขั้นตอนการทำ
ให้ นำถังหมักขนาด 60 ลิตร มาทำความสะอาด จากนั้นให้นำกากน้ำตาล จำนวน 5 ลิตรใส่ลงถังแล้วเติมน้ำสะอาด 30 ลิตร ตามลงไปใช้ไม้คนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำต้นข้าวโพดสดที่สับละเอียดแล้วใส่ลง ในถังให้เต็มแล้วใช้ไม้คนผสมให้เข้ากันอีกครั้งปิดฝาให้สนิท จากนั้นทุกๆ 2-3 วันให้ทำการคน 1 ครั้ง เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ดีขึ้นหมักเป็นเวลา 21 วัน หรือหากว่าต้องการนำไปเป็นอาหารให้แพะก็จะต้องทำการหมักไม่น้อยกว่า 3 วันจึงจะนำไปเป็นอาหารให้กับแพะได้โดยตักเอาเฉพาะกากนำไปเป็นอาหารให้กับแพะ ในช่วงเช้าหลังทำความสะอาดโรงเรือนเสร็จประมาณ 10.00 น. โมงเช้า และ ช่วง 15.00 น. ส่วนช่วงเวลาประมาณ 17.00 น.ให้เป็นอาหารข้น(เม็ด) หรือ อาหารผสมสูตร 1 ก็ได้ เพื่อให้แพะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของแพะ

การให้อาหารแพะ

เกษตร ต้องสังเกตว่าพฤติกรรมการกินอาหารของแพะเองเนื่องจากแพะนั้นเป็นสัตว์ ที่สามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน และ กินในปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้นการให้อาหารจึงเป็นสิ่งที่จะกำหนดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงแพะหากว่าให้ อาหารมากเกินไปต้นทุนก็จะสูง หากให้น้อยเกินไปแพะก็จะเจริญเติบโตช้าให้ผลผลิตได้ช้า


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก : คุณ ศรายุทธ สุวรรณเสรี เกษตรผู้เลี้ยงแพะตำบลท่าสาย อยู่บ้านเลขที่ 118/3 หมู่ 20 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย โทร 081-7164613


อ้างอิง : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. เชียงราย

ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1040&s=tblanimal
โครงการศึกษาการเลี้ยงแพะขุนโดยใช้กระถินสด
โดย ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุทัยธานี

อาชีพการเลี้ยงแพะเป็นอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรสนใจและกำลังนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพราะ แพะเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้ผลผลิต เร็วอีกด้วย เกษตรกรนิยมเลี้ยงแพะโดยปล่อยให้แพะหากินเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะสังเกตุเห็น ได้ว่าหากเป็นฤดูฝนมีหญ้ามาก แพะก็จะมีรูปร่างที่ดี ค่อนข้างอ้วน เพราะมีอาหารตามธรรมชาติ ิเป็นจำนวนมากแต่ในทางกลับกัน ฤดูแล้ง หญ้าธรรมชาติมีน้อย ทำให้แพะได้รับอาหารไม่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายสุขภาพไม่ค่อยดี ต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก อีกทั้ง ในปัจจุบัน พื้นที่ว่างเปล่าหลังฤดูเก็บเกี่ยวจะมีน้อย เพราะเกษตรกรจะทำการเกษตร ต่อเนื่อง หรือถ้าหากมีก็มักจะตรงกับฤดูแล้งเสมอ เกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชได้ เพราะน้ำไม่พอเพียง ทำให้เกิดปัญหาด้านอาหารของแพะในฤดูดังกล่าว จึงทำให้มีเกษตรกรบางส่วน นำกระถิน มาเสริมให้แก่แพะหลังจากปล่อยให้หากินตามธรรมชาติแล้ว ทำให้แพะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ ในช่วงที่อาหารขาดแคลนกระถิน เป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่รู้จักกันดีในแง่เป็นอาหารสัตว์ และคนสามารถนำมาใช้บริโภคได้ ประเทศไทยนิยมปลูกกระถินใช้เลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์เล็ก และสัตว์เคี้ยวเอื้องมานานหลายปีแล้ว เนื่องจากเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีมีเปอร์เซ็นต์ โปรตีนถึง 21 – 27 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่นมาก มีอายุยืน และเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วหลังตัดใช้ประโยชน์ สัตว์ชอบกินและย่อยได้สูง แต่กระถินในลักษณะสด จะมีสารพิษที่เรียกว่า ไมโมซิน ถ้าสัตว์กินมาก ๆ จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ขนร่วงและเป็นอันตรายอาจถึงตายได้ แต่ถ้ากินในลักษณะแห้ง สารพิษไมโมซินจะถูก ทำลายไป ก็จะไม่เกิดอันตรายและหากนำมาให้กินหรือผสมในอาหารสัตว์ (อาหารข้น) ในปริมาณมาก ๆ จะมีความฟ่าม สัตว์ก็จะไม่ค่อยกิน ดังนั้นการใช้กระถินแห้งในอาหารข้น จึงกระทำได้ในอัตราส่วนที่จำกัด ส่วนกระถินสดได้มาจากการปลูกแล้วในธรรมชาติ ยังมีกระถินเกิดขึ้นมาก ซึ่งไม่มีการใช้ประโยชน์มากนักและกระถินในธรรมชาติ ก็ยังให้ผล ผลิต คือ ใบสีเขียวตลอดทั้งปี ดังนั้น หากสามารถนำกระถินสดมาให้สัตว์กินได้ในช่วงแล้ง หรือช่วงอาหารสัตว์ตามธรรมชาติขาดแคลน ก็จะสามารถทำให้สัตว์เจริญเติบโตได้เป็นปกติ และสามารถเพิ่มน้ำหนักได้จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ จะนำกระถินสดมาให้แพะกินร่วมกับอาหารข้น และหญ้าคุณภาพเช่น หญ้ากินนีสีม่วง-หรือหญ้ารูซี่ ก็สามารถทำให้แพะเจริญเติบโตได้ดี แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง ในการที่จะให้แพะกินกระถินสด เป็นอาหารหยาบ เพียงอย่างเดียว ว่าจะสามารถเลี้ยงได้โดยวิธีใด อัตราการเจริญเติบโตเท่าใดคุ้มค่าหรือไม่ สุขภาพแพะจะเป็นอย่างไร ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุทัยธานี จึงได้ทำการศึกษา การเลี้ยงแพะขุนโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว ดังกล่าว

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของแพะและสุขภาพแพะ
    2. เพื่อศึกษาแนวทางการเลี้ยงแพะแบบประหยัดต้นทุน
    3. เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบให้เกษตรกรมาศึกษาดูงานเป้าหมาย
    เลี้ยงลูกแพะหย่านมพันธุ์พื้นเมืองคละเพศ จำนวน 10 ตัว โดยใช้กระถินสดอย่างเดียว

    วิธีดำเนินการ

    1. จัดหาลูกแพะหย่านมพันธุ์พื้นเมือง คละเพศ อายุ 2 – 3 เดือน จำนวน 10 ตัว
    2. สร้างโรงเรือนยกพื้นและรั้ว
    3. จัดหาอุปกรณ์การเลี้ยง เครื่องชั่งน้ำหนัก และแหล่งกระถินซึ่งมีมากบริเวณภาย ในศูนย์วิจัยฯอุทัยธานี
    4. จัดหาอาหารแร่ธาตุและเวชภัณฑ์ในการป้องกันรักษาโรค
    5. เลี้ยงแพะโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว
    6. ชั่งน้ำหนักแพะทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ชั่งน้ำหนักกระถินที่กินทุกวัน ตลอดระยะเวลาที่ศึกษา 3 เดือน
    7. บันทึกสุขภาพแพะ ตลอดระยะเวลาศึกษา
    8. รวบรวมสรุปผลการศึกษา
    9. รายงานผลและเผยแพร่สู่เกษตรกร

    ผลการศึกษา

    ก่อนที่จะให้ลูกแพะทุกตัวกินกระถินสดเพียงอย่างเดียวต้องมีการปรับสภาพการกินอาหาร ของลูกแพะหย่านมเสียก่อน เนื่องจากฟาร์มที่ไปจัดหาลูกแพะหย่านมมาเป็นฟาร์ม ของเกษตรกร แพะเหล่านี้ถูกปล่อยให้หากินหญ้าและพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติมาก่อน การปรับสภาพการกินอาหารทำโดย ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณกระถินสดให้แพะได้กินเพิ่มขึ้น จากน้อยไปหามากจนเป็นกินด้วยกระถินล้วนใช้เวลาประมาณ 10 วัน ซึ่งโดยปกติแพะ จะกินพืชอาหารสัตว์ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว จากวันที่ 1 ถึงวันที่ 10 ให้กินหญ้า 9 ส่วน กระถิน 1 ส่วน วันที่ 2 กินหญ้า 8 ส่วน กระถิน 2 ส่วน จนถึงวันที่ 9 กินหญ้า 1 ส่วน กระถิน 9 ส่วน วันที่ 10 กินกระถินล้วน 10 ส่วน โดยการกินแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าหนึ่งครั้ง และช่วงบ่าย 1 ครั้ง ก่อนทำการศึกษาได้มีการถ่ายพยาธิลูกแพะ ทุกตัว ทำการชั่งน้ำหนักลูกแพะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และชั่งน้ำหนักกระถินทุกวัน

   

ผลการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของแพะและสุขภาพ
การเจริญเติบโตของลูกแพะหย่านม โดยให้กินกระถินสดเพียงอย่างเดียว เริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 รวม 85 วัน ดังตารางต่อไปนี้ 


ตารางที่ 1 แสดงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจ็บป่วย
รายละเอียดที่ศึกษา
หมายเลขแพะ
เฉลี่ย
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ระยะเวลาศึกษา
85
85
85
85
85
85
85
85
85
85
85
น้ำหนักเริ่มต้น (ก.ก.)
14.9
12.9
15.5
16.0
13.5
13.7
12.1
11.3
16.1
11.7
13.77
น้ำหนักสิ้นสุด (ก.ก.)
21.0
19.8
19.9
20.2
17.9
18.6
16.9
15.9
20
17.4
18.76
น้ำหนักเพิ่ม (ก.ก.)
6.1
6.9
4.4
4.2
4.4
4.9
4.8
4.6
3.9
5.7
4.99
อัตราการเจริญเติบโต/กรัม/วัน 71.76
81.18
51.76
49.41
51.76
57.65
56.47
54.12
45.88
67.06
58.70
อัตราการเจ็บป่วย (ครั้ง)
1
2
1
-
2
1
1
-
1
1
1
จากตารางที่ 1.

จากตารางที่ 1. พบว่าในระยะเวลาการศึกษาจำนวน 5 วัน (5 กรกฎาคม-27 กันยายน2547)
แพะทั้ง 10 ตัวมีน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้นศึกษา 13.77 กิโลกรัม น้ำหนักสิ้นสุด 18.76 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 4.99 กิโลกรัม อัตราเจริญเติบโตเฉลี่ย 58.70 กรัม/ตัว/วัน อัตราการเจ็บป่วยเฉลี่ย 1 ครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา
สำหรับปริมาณกระถินที่แพะกินทั้งหมดตลอดระยะเวลาการศึกษา 85 วัน แพะจำนวน 10 ตัว กินกระถินสดไปทั้งสิ้น 1,900.9 กิโลกรัม สามารถเพิ่มเป็นน้ำหนักตัวแพะได้ทั้งสิ้น 49.90 กิโลกรัม หรือแพะใช้กระถินสดจำนวน 38.09 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม หรือแต่ละวันแพะกิน
กระถินสดเฉลี่ยตัวละ 2.23 กิโลกรัม เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัว 58.70 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อตัว/วัน เท่ากับ 2.93 บาท (ราคาแพะเพศผู้มีชีวิต ราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพศเมีย ราคาสูงกว่า เท่าตัว)
ในส่วนของผลตอบแทนที่ได้รับจากการเลี้ยงแพะด้วยกระถินสดเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่า สุขภาพของแพะดีมาก อัตราการเจ็บป่วยน้อย เฉลี่ยตัวละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการศึกษา 85 วัน ค่าใช้จ่าย
ในการนำพาหนะไปตัดกระถินสดก็น้อยมาก ตัดเพียงวันละครั้ง ๆ ละประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว หากแหล่งกระถินอยู่ใกล้ที่เลี้ยงค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าน้ำมัน ก็น้อย หากแหล่งกระถินอยู่ไกล ค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันก็จะมากขึ้นอีกทั้ง เลี้ยงในระบบนี้แพะไม่ต้องออกไปหากินตามธรรมชาติ ซึ่งอาจต้องจ้างคนเลี้ยง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนเพิ่มอีก เลี้ยงวิธีนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้การเลี้ยงแพะโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว แบบล้อมคอกเป็นวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมประหยัดต้นทุน และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

สรุปผลการศึกษา

การศึกษาการเลี้ยงแพะขุนโดยกระถินสดเพียงอย่างเดียว โดยการตัดให้กินในคอกซึ่งมีบริเวณพอสมควร โดยเลี้ยงลูกแพะหย่านมคละเพศ จำนวน 10 ตัว ใช้ระยะเวลา 85 วัน ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 27 กันยายน 2547 ที่ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุทัยธานี โดยมีน้ำหนักแพะเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้นศึกษา 13.77 กิโลกรัม น้ำหนักสิ้นสุด 18.76 กิโลกรัม มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.99 กิโลกรัม/ ตัว อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 58.70 กรัม/ ตัว/ วัน อัตราการเจ็บป่วยเฉลี่ย 1 ครั้ง/ ตัว แพะจำนวน 10 ตัว กินกระถินสดไปทั้งสิ้น 1,900.9 กิโลกรัม
เฉลี่ยกินกระถินสดต่อตัว 190.90 กิโลกรัม แพะสามารถใช้กระถินสดเฉลี่ย 38.09 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำหนักขณะมีชีวิต 1 กิโลกรัม หรือใช้กระถินสดเฉลี่ย 2.23 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำหนักเฉลี่ย/ตัว/วัน 58.70 กรัม คิดเป็นรายได้ต่อ/ตัว/วัน เป็นเงิน 2.93 บาท (คิดราคาแพะเนื้อเพศผู้ถ้าเป็นเพศเมียราคาสูงกว่าเท่าตัว) ต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงด้วยวิธีนี้ ต่ำมาก ผลตอบแทนคุ้มค่า เหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะนำไปเป็นแนวทาง ในการทำฟาร์มแบบประหยัดต้นทุน

วิจารณ์


    จากการศึกษาพบว่า การขุนแพะโดยใช้กระถินสดเพียงอย่างเดียว ทำให้แพะได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ ต่อการดำรงชีพและสร้างผลผลิต โดยไม่ต้องเสียเวลาไปไล่เลี้ยง โดยเสี่ยงต่อโรคที่อาจติดจากสัตว์ฝูงอื่นได้ การปลูกกระถินหรือตัดกระถินที่ขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่ จำนวนมากมาเลี้ยงแพะอย่างเดียว สามารถทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่าย หรือเวลาลงได้ และสามารถได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพราะกระถินนอกจากจะหาง่ายแล้ว กระถินเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมี โปรตีน 21-27 เปอร์เซ็นต์
    เป็นพืชที่ปลูกเพียงครั้งเดียว ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายปี ดังนั้น การใช้กระถินสด ในการเลี้ยงแพะขุนระยะสั้น สามารถทำให้เกษตรกรลดต้นทุน การผลิต ได้ผลตอบแทนเร็ว อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่า ของกระถินซึ่งมีอยู่มากมายในธรรมชาติซึ่งไม่มีค่า เปลี่ยนเป็นเนื้อแพะ ซึ่งมีราคาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงแพะเนื้อซึ่งปกติ น้ำหนักส่งตลาดประมาณ 20-25 กิโลกรัม ใช้เวลาเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติถึง 10 - 12 เดือน แต่ถ้าเลี้ยงโดยกระถินสดอย่างเดียว ระยะเวลาการเลี้ยงจะสั้นลง เหลือเพียง 6 - 8
    เดือน ก็มีน้ำหนักส่งตลาดได้แล้ว ปีหนึ่งสามารถเลี้ยงได้ เกือบ 2 รุ่น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวของเกษตรกรด้วย


ข้อเสนอแนะ

1.ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ครั้งนี้
ข้อด
ข้อเสีย
1. ประหยัดเวลาเพียงตัดกระถินให้กินวันละครั้งเท่านั้น
1. บริเวณโรงเรือนคอกแพะ ต้องมีพื้นที่พอ
เหลือไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้
สมควรให้แพะได้มีพื้นที่วิงเล่นออกกำลังกายบ้าง
2. ไม่ต้องจ้างคนเลี้ยงเสียเงินค่าจ้าง
2. ต้องมีแหล่งกระถินสดอยู่ใกล้แหล่งที่เลี้ยง
3. โอกาสติดโรคระบาดและโรคพยาธิแทบไม่มี
และมีปริมาณเพียงพอทั้งปี
4. เปลี่ยนกระถินซึ่งไม่มีราคาเป็นเนื้อได้วันละ 58.70 กรัม
 
หรือ 2.93 บาท/ตัว (แพะมีชีวิต ก.ก. ละ 50 บาท)
 
5. ไม่ต้องเสริมด้วยอาหารข้นเพราะกระถินมีโปรตีนสูง
 
ทำให้ประหยัดต้นทุน และเลี้ยงได้ปีละ 2 รุ่น
 
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

2.1 ศึกษาการเลี้ยงแพะขุนโดยใช้แพะพันธุ์อื่น ๆ
2.2 ศึกษาอาหารหรือพืชอาหารสัตว์ ที่แพะชอบกิน และการให้ผลผลิตของแพะจากการกินอาหารหรือพืชอาหารสัตว์นั้น ๆ


ศูนย์เรียนรู้เลี้ยงแพะ ซีพีเอฟ.มุ่งสร้างงาน อาชีพ…มวลชน

69577[1]

“การเลี้ยงแพะ” ในประเทศไทยมีอยู่ในหลายๆพื้นที่และมีมาอย่างเนิ่นนาน และเมื่อกระแสการบริโภค “น้ำนมแพะ” เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้คาบเวลานี้หลายคนต่างให้ความสนใจที่จะก้าวสู่อาชีพนี้

นายสมบัติ ปิยะพันธุ์ ผู้แทนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซีพีเอฟ. เปิดเผยว่า การทำฟาร์มปศุสัตว์จะประสบผลสำเร็จได้ผลิตผลตามที่คาดไว้นั้น หลักสำคัญสุดคือ “การจัดการภายในฟาร์ม” ดังนั้น เพื่อให้การเลี้ยงแพะของคนไทยมีคุณภาพ เป็นการ สานต่อโครงการสร้างงานสร้างอาชีพ ซีพีเอฟ.จึงเปิดโครงการนำร่องขึ้นที่ ฟาร์มแพะกบินทร์บุรี บนเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
การจัดการภายในฟาร์มว่า ประกอบด้วยโรงเรือนเลี้ยงแพะทั้งหมด 11 โรงเรือน แบ่งเป็นโรงเรือนผสมพันธุ์ จำนวน 6 โรงเรือน โรงเรือนอุ้มท้องและคลอด จำนวน 1 โรงเรือน โรงเรือนแม่แพะเลี้ยงลูก จำนวน 1 โรงเรือน โรงเรือนแพะรุ่น (หย่านม) จำนวน 1 โรงเรือน และโรงเรือนแพะนม จำนวน 2 โรงเรือน
ส่วนการส่งเสริมจะเป็นกลุ่ม “แพะเนื้อ” สายพันธุ์ “บอร์” ที่มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกาใต้ เพราะมีลักษณะโดดเด่น ในด้านอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ปลอดโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย และ ให้ผลผลิตเนื้อดีมีประสิทธิภาพสูง เป็นไปตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ของทางบริษัท

นายมานพ บัวพินธุ์ บอกถึงแนวทางการพัฒนาสายพันธุ์ว่า จะเริ่มตั้งแต่จัดฝูงผสมพันธุ์ ซึ่งใช้แม่พันธุ์ พร้อมผสมมีอายุเฉลี่ย 8 เดือน นำมาปล่อย “ให้ ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดความพร้อม” ในคอกผสมพันธุ์ แบบ “ฝูง” ร่วมกับพ่อพันธุ์อัตราส่วน 1 : 25 ตัว เมื่อตัวเมียตั้งท้อง 3 เดือน จะย้ายเข้าสู่คอกอุ้มท้อง
หลังแม่แพะตกลูก จะติด “เบอร์หู” ทำประวัติ เพื่อสะดวกง่ายต่อการติดตามพ่อแม่พันธุ์ และปล่อยอยู่กับแม่ในคอก 14 วัน เพื่อให้ได้กินนมตลอดเวลาเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 3-8 สัปดาห์ จึงเริ่มแยกออกเป็นช่วงๆ พร้อมทั้งฝึกให้ลูกกินอาหารข้น ฟาง หรือถั่วแห้ง เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 9 จึงนำลูกแพะไปพักในส่วนของคัดพันธุ์ และคัดขุน ปรับปรุงสายพันธุ์ต่อไป
เมื่อคัดเลือกพันธุ์ดีเหมาะสมได้แล้ว จะ นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ สู่รายได้ที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันยังได้ให้การสนับสนุนพันธุ์แพะแก่ภาครัฐ สำหรับนำไปปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมือง เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่ออุตสาหกรรมในท้องถิ่น ส่วนลูกตัวไหนที่ลักษณะไม่ตรงกับสายพันธุ์ จะขุนต่อส่งขายเป็นแพะเนื้อ ส่วนแม่แพะจะมีการจัดเวลาให้ลงแปลงหญ้าเพื่อปรับสภาพร่างกาย ก่อนย้ายกลับเข้าสู่โรงเรือนผสมพันธุ์

…ฟาร์มแพะกบินทร์บุรี นอกจากเป็นแหล่งพัฒนาสายพันธุ์ ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ สนับสนุนด้านวิชาการให้กับบุคคลที่สนใจเข้ามาศึกษาแนวทางการจัดการที่ถูก ต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรไทย ที่สนใจในเส้นทางสายนี้ ได้มีโอกาสพัฒนาการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน
เมื่อผลิตผลที่ออกมามีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างลงตัว เกษตรกรรายใดสนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.08-3797-9973, 08-9846-3935

ที่มา : http://www.thairath.co.th
แพะ.com © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by Guru