Saturday, February 2, 2013

ศูนย์เรียนรู้เลี้ยงแพะ ซีพีเอฟ.มุ่งสร้างงาน อาชีพ…มวลชน

69577[1]

“การเลี้ยงแพะ” ในประเทศไทยมีอยู่ในหลายๆพื้นที่และมีมาอย่างเนิ่นนาน และเมื่อกระแสการบริโภค “น้ำนมแพะ” เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้คาบเวลานี้หลายคนต่างให้ความสนใจที่จะก้าวสู่อาชีพนี้

นายสมบัติ ปิยะพันธุ์ ผู้แทนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซีพีเอฟ. เปิดเผยว่า การทำฟาร์มปศุสัตว์จะประสบผลสำเร็จได้ผลิตผลตามที่คาดไว้นั้น หลักสำคัญสุดคือ “การจัดการภายในฟาร์ม” ดังนั้น เพื่อให้การเลี้ยงแพะของคนไทยมีคุณภาพ เป็นการ สานต่อโครงการสร้างงานสร้างอาชีพ ซีพีเอฟ.จึงเปิดโครงการนำร่องขึ้นที่ ฟาร์มแพะกบินทร์บุรี บนเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
การจัดการภายในฟาร์มว่า ประกอบด้วยโรงเรือนเลี้ยงแพะทั้งหมด 11 โรงเรือน แบ่งเป็นโรงเรือนผสมพันธุ์ จำนวน 6 โรงเรือน โรงเรือนอุ้มท้องและคลอด จำนวน 1 โรงเรือน โรงเรือนแม่แพะเลี้ยงลูก จำนวน 1 โรงเรือน โรงเรือนแพะรุ่น (หย่านม) จำนวน 1 โรงเรือน และโรงเรือนแพะนม จำนวน 2 โรงเรือน
ส่วนการส่งเสริมจะเป็นกลุ่ม “แพะเนื้อ” สายพันธุ์ “บอร์” ที่มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกาใต้ เพราะมีลักษณะโดดเด่น ในด้านอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ปลอดโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย และ ให้ผลผลิตเนื้อดีมีประสิทธิภาพสูง เป็นไปตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ของทางบริษัท

นายมานพ บัวพินธุ์ บอกถึงแนวทางการพัฒนาสายพันธุ์ว่า จะเริ่มตั้งแต่จัดฝูงผสมพันธุ์ ซึ่งใช้แม่พันธุ์ พร้อมผสมมีอายุเฉลี่ย 8 เดือน นำมาปล่อย “ให้ ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดความพร้อม” ในคอกผสมพันธุ์ แบบ “ฝูง” ร่วมกับพ่อพันธุ์อัตราส่วน 1 : 25 ตัว เมื่อตัวเมียตั้งท้อง 3 เดือน จะย้ายเข้าสู่คอกอุ้มท้อง
หลังแม่แพะตกลูก จะติด “เบอร์หู” ทำประวัติ เพื่อสะดวกง่ายต่อการติดตามพ่อแม่พันธุ์ และปล่อยอยู่กับแม่ในคอก 14 วัน เพื่อให้ได้กินนมตลอดเวลาเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 3-8 สัปดาห์ จึงเริ่มแยกออกเป็นช่วงๆ พร้อมทั้งฝึกให้ลูกกินอาหารข้น ฟาง หรือถั่วแห้ง เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 9 จึงนำลูกแพะไปพักในส่วนของคัดพันธุ์ และคัดขุน ปรับปรุงสายพันธุ์ต่อไป
เมื่อคัดเลือกพันธุ์ดีเหมาะสมได้แล้ว จะ นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ สู่รายได้ที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันยังได้ให้การสนับสนุนพันธุ์แพะแก่ภาครัฐ สำหรับนำไปปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมือง เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่ออุตสาหกรรมในท้องถิ่น ส่วนลูกตัวไหนที่ลักษณะไม่ตรงกับสายพันธุ์ จะขุนต่อส่งขายเป็นแพะเนื้อ ส่วนแม่แพะจะมีการจัดเวลาให้ลงแปลงหญ้าเพื่อปรับสภาพร่างกาย ก่อนย้ายกลับเข้าสู่โรงเรือนผสมพันธุ์

…ฟาร์มแพะกบินทร์บุรี นอกจากเป็นแหล่งพัฒนาสายพันธุ์ ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ สนับสนุนด้านวิชาการให้กับบุคคลที่สนใจเข้ามาศึกษาแนวทางการจัดการที่ถูก ต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรไทย ที่สนใจในเส้นทางสายนี้ ได้มีโอกาสพัฒนาการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน
เมื่อผลิตผลที่ออกมามีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างลงตัว เกษตรกรรายใดสนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.08-3797-9973, 08-9846-3935

ที่มา : http://www.thairath.co.th

Tagged:

0 comments:

Post a Comment

แพะ.com © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by Guru