Saturday, February 2, 2013

เลี้ยงแพะ-แกะเศรษฐกิจอีกหนึ่งทางเลือกเลี้ยงได้ไม่ยาก
 
ดัง นั้นก็ติดต่อมาที่หมอเอี่ยมท่านมีแพะอยู่ 127 แม่ ท่านก็ขายให้เราก็เลยได้ แม่พันธุ์แพะมาอีก 127 แม่ เฉลี่ยปีละ 300 ตัวมีตลาดผู้ซื้อพันธุ์แพะตัวผู้ ขุน มีตลาดซื้อเพาะเนื้อซึ่งราคาไม่แพง คือตัวเมียที่ปลดระวาง ก็แยก เลี้ยง เรามีปัญหาเรื่องอาหารเราก็พัฒนาการให้อาหารโดยใช้วัสดุที่มีในท้อง ถิ่นคือใบไม้เอาหัวมันที่เหลือจากขายแล้วมาสับตากแดดต้นข้าวโพด กฐิน ณรงค์ ใบมัน ข้าวโพด เนื้อมันสับมันเส้นผสมซึ่งมีไขมันและมีพลังงานสูงใช้ เลี้ยงแพะต้นทุนกิโลละประมาณ 2 บาท                                            
เมื่อ เราเริ่มเลี้ยงไประยะหนึ่งก็เห็นว่าแพะมีการออกลูกดกถ้ามีการจัดการโรคที่ดี หมายถึงปัจจุบันเรามีสมุนไพรสองสูตรคือบำรุงทางด้านโรคและก็บำรุงด้านน้ำนม ด้วยเพราะสัตว์เหล่านี้จะมีปัญหาในช่วงปลายฝนต้นหนาวหรือฝนตกมากเขาก็จะปอด บวม ก็ต้องหาสมุนไพรรักษาคือสมุนไพรมี 5ชนิดผสมกับอาหาร  




โดย มีใบมะรุม ใบกะเพรา โหระพา ตะไคร้ สำคัญที่สุด คือแก้ไข้หวัดคือใบห้าทะลาย โจร เพราะแพะสามรถกินพืชที่มีรสขมได้ดี สับรวมกันปนกันและเมื่อเราทำอาหาร เสร็จก็โรยสมุนไพรด้านหน้า กันติดต่อกัน 10วันรวมทั้งนรักษาโรคทางเดิน หายใจ ทางเดินอาหาร สมุนไพรมีแคลเซียมสูงเพราะในใบมะรุมมีวิตามินซีสูงกว่า ส้มถึงเจ็ดเท่า ซึ่งช่วยต้นทุนการซื้อยา ซึ่งมีต้นทุนประมาณ 80%ต่อ เดือน หรือ 800บาท   
ถ้าเรา ใช้สมุนไพรรักษาใช้เวลานานมากขึ้นไม่ถึงสิบวันก็ดีขึ้น โดยให้เขากินสมุนไพร พร้อมอาหารโดยได้สูตรมาจากคุณหมอบุญเลิศ ที่เป็นแพทย์แผนไทยท่านมาแนะนำว่า การใช้สมุนไพรผู้บริโภคจะได้ทานเนื้อแพะ แกะที่ดี ไม่มีสารตกค้าง

ตอนนี้เรามีแม่แพะประมาณ 300ตัวและส่งสมาชิกผลิตทุกปี รวมมีแพะ 600 ตัวและ มีแกะ 100ตัว รวม700ตัว เป็นพันธุ์ลูกผสม กึ่งเนื้อกึ่งนมสามสายพันธุ์ก็ถือเป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองได้ดี ทำรายได้ดี  เพราะตามหลักธุรกิจถ้าขายอะไรที่คนไม่กินมันก็เหลือ ส่วนแพะ มุสลิมนอกจากกินยังนำมาประกอบพิธีกรรมในช่วงเดือนรอมอฎอนจะขายดีในช่วง ธ.ค.และงานเมาริดกลางมีการออกบูธอาหารปกติจัดที่สวนอัมพรแต่ตอนนี้มาจัดที่ หนองจอก เราจะมีลูกค้ามาซื้อประจำ 

   
สมาชิก ชมรมมี 215 ฟาร์ม 7,000 ตัว มวกเหล็ก 47 ฟาร์ม เราต้องมารวมตัวทำสต๊อก เพื่อขายสินค้าของเราเป็นลิ๊อตใหญ่ เพราะแพะที่ได้น้ำหนัก 25-40 กก. เดือนหนึ่ง 200ตัว ต้องมีอย่างน้อยสต๊อก 500 ตัวเราต้องใช้แม่พันธุ์ถึง 2 หมื่นแม่ ตอนนี้มีเจ็ดพันแม่ เราทำมาห้าปีแล้วเราเลี้ยงแพะแกะรวมกันเพราะเราได้ใช้แปลงสมบูรณ์แบบเพราะ แพะกินใบไม้ 75% กินหญ้า 25%แต่แกะกินหญ้า75%และแพะจะปีนกิน เขาจะทนร้อนได้ดีเพราะไขมันใต้ผิดหนังบางมากแล้วขนเขาจะเงามันพอแดดสะท้อนมา ก็จะสะท้อนกลับเขาจะไม่ค่อยร้อนหรือเหนื่อยง่าย
นี่ คือคุณสมบัติของแพะจะเลี้ยงในหน้าร้อนในทะเลทรายได้ดีกินน้ำวันละ 2กิโล ถ้าปล่อยออกหากิน แต่ถ้าเลี้ยงแบบที่ผมทำคือขังเลี้ยงกินน้ำประมาณครึ่กก.ต่อวัน คือจะกินน้ำประมาณ หนึ่งในสามเพราฉะนั้นมันจะลดต้นทุนลง ตอนนี้เรามีเนื้อที่เลี้ยงแพะประมาณ 40 ไร่ แกะประมาณ 10ไร่ แบ่งเป็นล๊อกใหญ่ๆแล้วกั้นเป็นคอกๆละ 10 ไร่ ทั้งหมด 52ไร่ แล้วก็บริเวณบริหาร 20ไร่ ผลผลิตของชมรมการผลิตต้องอาศัยการรวมกลุ่มกันขาย 

   
สำหรับ รายได้โดยเฉลี่ยประมาณ 1 แสนบาทต่อเดือนนี่คือหักต้นทุนแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆที่ใครจะทำเพราะว่าถ้าคนเลี้ยงไม่ มีความรู้ ไม่มีการจัดการฟาร์มไม่มีการลดต้นทุนอาหารไม่มีการยกระดับสายพันธุ์ที่โต เร็ว และไม่รู้ช่องทางตลาดก็ไม่สามารถที่จะมายืน ณ จุดนี้ได้
ผม ผ่านการลองผิดลองถูกมาตั้งห้าปี แพะตายไปหลายตัวในแต่ละปีตายเพราะฝนตก เข้าคอกไม่ทันปอดบวม แล้วก็ที่บังไม่ดีนอนตามมุมลงโกรกเขาก็เป็นหวัด เป็นไข้จับสั่น ลูกแพะเล็กๆส่วนใหญ่จะตายตอนนี้เราเลยใช้ระบบสแลนกันลมกันฝนค่อยๆเรียนรู้ไป เพราะเป็นปัญหาที่เราต้องเจอและเรามีปัญหาเรื่องเวลาเพราะการเปิดอบรมแต่ละ รุ้นแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อนมีคนสนใจเยอะแต่เราอบรมได้แค่ครั้งละ 50คนส่วน ใหญ่เป็นเกษตรกรจาก 14จว.ภาคใต้ จากพัทลุง ภูเก็ต นครฯ
การ เลี้ยงแพะ แกะ ไม่สามารถที่จะเลี้ยงได้ทุกจังหวัด แต่ใน3จว.ภาคใต้มีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก แต่มีผู้เลี้ยงน้อย แต่เวลาใช้ต้องใช้จากภาคกลางทั้งหมด เกือบ 80% โดยการเลี้ยงที่นี่มีความเหมาะสมต้องไม่มีฟาร์มสัตว์อื่นใน ระยะ 5กม.
อยาก แนะนำให้ว่าคนที่อยากทำอาชีพนี้อันดับแรกต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเงินทุนเท่า ไหร่ ทางชมรมคิดค่าอุปกรณ์ฝึก 3วั นประมาณ5000บาท การส่งเสริมทำผลิตภัณฑ์น้ำนมแพะ น่าจะแพงกว่านมวัวประมาณลิตรละ 100บาท แต่นมวัวประมาณ 18บาทเราเลยคิดว่าน่าจะนำนมมาผลิตเป็นสบู่ และต่อยอดนำขนแพะมาทำกระเป๋า เข็มขัดเป็นหมวก เป็นรองเท้ามีการส่งออกบ้างสนใจติดต่อได้ที่เบอร์ 089 2131424 

Tagged:

0 comments:

Post a Comment

แพะ.com © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by Guru